Skip to main content

FAQ (Thai)

คำถามเกี่ยวกับหลักสูตรฯและระบบรับสมัคร

คำถาม: หลักสูตร MBA แตกต่างจากหลักสูตรอื่นอย่างไร
ตอบ : หลักสูตร MBA สอนเรื่องธุรกิจครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้าน marketing, finance, management ต่างจากหลักสูตรอื่นที่เน้นการเรียนการสอนเฉพาะด้าน อาทิ หลักสูตร MBM เน้นสอนเรื่อง marketing หลักสูตร MM เน้นสอนเรื่อง international business หลักสูตร MSF เน้นสอนเรื่อง Finance เป็นต้น
คำถาม: หลักสูตรมีสาขาวิชาย่อยๆ ให้เลือก และเลือกเมเจอร์ได้หรือไม่?
ตอบ : การเรียนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) ที่คณะฯ จะไม่มีสาขาย่อย (major) ให้เลือก นิสิตต้องเรียนวิชาบังคับใน Function ของการบริหารธุรกิจทั้งหมด (การบัญชี การจัดการ สถิติ การเงิน และ การตลาด) ทั้งนี้ในวิชาเลือกนิสิตสามารถเลือกรายวิชาที่เน้นไปทางด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เน้นทางด้านการจัดการ หรือ การตลาด หรือ การเงิน หรือ นิสิตจะเลือกรายวิชาเลือกที่ผสมกันในทุกด้านก็ได้ นิสิตที่เรียนจบแล้วจะได้วุฒิปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (Business Administration)
คำถาม: เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะได้รับวุฒิปริญญาอย่างไร?
ตอบ : วุฒิการศึกษาของทุกๆ โปรแกรมในหลักสูตรฯ จะระบุเป็น “บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต” “Master of Business Administration” สาขาวิชา “บริหารธุรกิจ” “Business Administration”
คำถาม: หากสอบติดเข้ามาแล้วสามารถเปลี่ยนไปเรียนเป็นโปรแกรมอื่นๆ เช่นสอบติด MBA Regular แล้วเปลี่ยนไปเป็น MBA Young Executive ได้หรือไม่ ?
ตอบ : เมื่อได้รับการคัดเลือกและเข้าเรียนแล้ว นิสิตจะไม่สามารถเปลี่ยนโปรแกรมระหว่างเรียนได้ หากต้องการจะต้องทำการสมัครใหม่และเริ่มต้นกระบวนการสมัครใหม่ทั้งหมด
คำถาม: สนใจเรียนหลักสูตรด้านโลจิสติกส์, การเงิน, IT หรือการตลาด

ตอบ : กรุณาติดต่อสอบถามแต่ละหลักสูตรโดยตรง สามารถดูข้อมูลหลักสูตรต่างๆที่คณะฯเปิดได้ที่ http://www.cbs.chula.ac.th/

คำถาม : ต้องการดูหลักสูตรปริญญาโท หรือเอกในสาขาวิชาอื่นๆหรือคณะอื่นๆของจุฬาฯ

ตอบ : สามารถดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย www.grad.chula.ac.th

คำถาม : หากมีผู้สมัครผ่านเกณฑ์เกินจำนวนที่กำหนดไว้ จะคัดเลือกอย่างไร

ตอบ : การกำหนดจำนวนที่คาดว่าจะรับ เป็นการประมาณการ การพิจารณาคัดเลือกผู้สมัคร คณะกรรมการจะพิจารณาจากทุกองค์ประกอบของผู้สมัคร ซึ่งอาจได้จำนวนที่น้อยกว่าหรือมากกว่าจำนวนที่คาดว่าจะรับ

คำถาม : สามารถสมัครหลายโปรแกรมพร้อมกันได้หรือไม่

ตอบ : ผู้สมัครสามารถสมัครหลายโปรแกรมพร้อมกันได้ แต่จะยืนยันสิทธิ์ในการเข้าเรียนได้เพียงโปรแกรมเดียวเท่านั้น และต้องแจ้งสละสิทธิ์กับหลักสูตรที่ไม่ประสงค์เข้าเรียนด้วย

ถาม : หากทำงานมาแล้วหลายๆที่ สามารถรวมประสบการณ์ทำงานเพื่อสมัครได้หรือไม่?

ตอบ : ผู้สมัครสามารถนับรวมประสบการณ์ทำงานจากที่ทำงานหลายๆที่มารวมกันได้ แต่จะไม่นับประสบการณ์ทำงานหรือการฝึกงานที่เกิดขึ้นก่อนจบการศึกษา (เริ่มนับหลังจากวันที่จบการศึกษาที่ระบุในTranscript)

ถาม : เคยฝึกงานสมัยที่เรียนปริญญาตรี นำมารวมเป็นประสบการณ์ทำงานได้หรือไม่?

ตอบ : ผู้สมัครในโปรแกรม Regular, Young Executive, English ไม่สามารถนับรวมการฝึกงานในระหว่างเรียนปริญญาตรีเพื่อรวมในประสบการณ์ทำงานได้ 

ถาม : ทำงานที่บ้าน หรือทำธุรกิจส่วนตัว สามารถนับเป็นประสบการณ์ทำงานได้ไหม?

ตอบ : สามารถนับรวมเป็นประสบการณ์ทำงานได้ อย่างไรก็ตามต้องมีหนังสือรับรองระบุการทำงานจากที่ทำงาน, หนังสือจดทะเบียนการค้า, หรือหลักฐานเพิ่มเติมที่ชัดเจนว่าได้ทำงานนั้นจริง

ถาม : ช่วยธุรกิจเล็กๆ ที่บ้าน มาประมาณ 5 ปีแล้ว ควรเรียนโปรแกรมไหนดี

หากมีประสบการณ์การทำงาน 5 ปีสามารถเลือกศึกษาต่อในโปรแกรม Regular, Young Executive, English ได้ ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้สมัคร

ถาม : ถ้าไม่มีหนังสือรับรองการทำงาน หรือบริษัทไม่ได้ออกหนังสือรับรองให้ ทำอย่างไร?

ตอบ : ผู้สมัครสามารถใช้เอกสารอื่นๆ เท่าที่สามารถหาได้ เช่น สลิปเงินเดือน, หลักฐานผลงาน หรือเอกสารที่เป็นหลักฐานว่าผู้สมัครเคยทำงานจริง

ถาม : หนังสือ Recommendation จะต้องเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ?

ตอบ : ผู้รับรองสามารถเขียน Recommendation เป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้ ไม่ว่าผู้สมัครจะสมัครเรียนในโปรแกรมไหน

ถาม : ผู้เขียน Recommendation ควรจะต้องเป็นหัวหน้างานสองคนใช่หรือไม่ ? ต้องมาจากผู้บังคับบัญชาคนละหน่วยงานเท่านั้นหรือไม่ สามารถให้คนอื่นๆเขียนได้ไหม?

ตอบ : ผู้รับรองไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นหัวหน้างานเสมอไป อาจจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาขณะเรียน หรือบุคคลที่ติดต่อด้วยในการทำงาน หรือผู้ที่มีคุณวุฒิที่ผู้สมัครเห็นว่าเหมาะสมจะให้เป็นผู้รับรอง แต่ไม่ควรเป็นบุคคลในครอบครัว

ถาม : ตำแหน่งของผู้เขียน Recommendation มีผลต่อการสมัครหรือไม่

ตอบ : คณะกรรมการอาจจะพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้รับรอง และ อาจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของผู้สมัครจากผู้รับรอง

ถาม : แต่ละหลักสูตรกำหนดคะแนน CU-BEST ขั้นต่ำไว้เท่าใด

ตอบ : หลักสูตรไม่ได้กำหนดคะแนน CU-BEST ขั้นต่ำ ขึ้นกับคะแนนที่ผู้สมัครยื่นมาแต่ละรอบ และนำมาจัดเรียงตามลำดับ สูง-ต่ำ และเรียกสัมภาษณ์ตามจำนวนที่เหมาะสม

ถาม : หลักสูตรมีเงื่อนไขพิเศษสำหรับนิสิตที่ได้รับเกียรตินิยมในการเข้าศึกษาต่อหรือไม่?

ตอบ : ตามคุณสมบัติการรับสมัครในเบื้องต้นจะไม่มีการดูเกรดเฉลี่ยของผู้สมัครไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมใดๆ ก็ตาม แต่เกรดเฉลี่ยอาจมีผลตอนสอบสัมภาษณ์ในการพิจารณารับเข้าศึกษา

ถาม : ในการสมัครสอบมีการดูเกรดเฉลี่ยตอนเรียนปริญญาตรีด้วยหรือไม่?

ตอบ : ตามคุณสมบัติการรับสมัครในเบื้องต้นจะไม่มีการดูเกรดเฉลี่ยของผู้สมัครไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมใดๆ ก็ตาม แต่เกรดเฉลี่ยอาจมีผลตอนสอบสัมภาษณ์ในการพิจารณารับเข้าศึกษา

ถาม : พอจะยกตัวอย่างคำถามที่มักใช้ในการสัมภาษณ์ได้หรือไม่

ตอบ : คณะกรรมการจะสัมภาษณ์เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเป็นส่วนใหญ่ รวมไปถึงแรงบันดาลใจและเป้าหมายในการเรียนของผู้สมัคร

ถาม : เป็นคนไทยไม่ใช่ชาวต่างชาติ จะสามารถลงทะเบียนระบบโดยใช้เลขพาสปอร์ตได้หรือไม่ ?

ตอบ : ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นคนไทย ควรลงทะเบียนระบบด้วยเลขที่บัตรประชาชนทั้งในระบบรับสมัครสอบสัมภาษณ์และระบบรับสมัครสอบ CU-BEST เฉพาะการลงทะเบียนของชาวต่างชาติเท่านั้น จึงจะให้ใช้เลขที่พาสปอร์ตได้ (ที่สำคัญ การลงทะเบียนของทั้งระบบรับสมัครสอบสัมภาษณ์และระบบรับสมัครสอบ CU-BEST ต้องเหมือนกัน)

ถาม : หลักสูตรมีการให้ทุนการศึกษาหรือไม่?

ตอบ : หลักสูตรมีการให้ทุนการศึกษาในลักษณะของนิสิตช่วยงาน (TA) และ คณะฯ มีทุนการศึกษาสำหรับนิสิตที่ขาดแคลน

ถาม : สามารถขาดเรียนได้กี่ครั้งต่อวิชา

ตอบ : นิสิตจะขาดเรียนได้ไม่เกิน 20% ของชั่วโมงเรียนต่อหนึ่งวิชา ปกติแล้วรายวิชาหนึ่งจะมีชั่วโมงการเรียนการสอนทั้งหมด 8 ชั่วโมง เท่ากับนิสิตจะขาดได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อวิชา

ถาม : หลักสูตรจัด field trip ช่วงไหนและจะกระทบต่อผู้ที่ทำงานประจำหรือไม่

ตอบ : ช่วงเวลาการจัด field trip อาจมีทั้งในวันราชการ และ วันหยุดราชการ ทั้งนี้หลักสูตรจะมีการแจ้งกำหนดการล่วงหน้า และ มีหนังสือรับรองการจัดกิจกรรมของหลักสูตร

ถาม : โครงการ GBT กับ Exchange ต่างกันอย่างไร

ตอบ : สองโครงการนี้มีข้อแตกต่างกันหลายประการ หลักๆ คือระยะเวลาในการศึกษา ช่วงเวลาที่ไป จำนวนที่รับ ตัวเลือกมหาวิทยาลัย ค่าใช้จ่าย ฯลฯ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของทั้งสองโครงการได้ที่ https://mba.cbs.chula.ac.th/international-opp/

ถาม : หากไม่ได้สมัครโครงการ GBT ตอนยื่นเอกสารครั้งแรก สามารถสมัครหลังจากเริ่มเรียนได้หรือไม่

ตอบ : ผู้ที่สนใจสามารถสมัครโครงการ GBT ได้ตั้งแต่การยื่นเอกสารการสมัครสอบ หากมีโควต้าเหลือหลักสูตรจึงจะเปิดรับสมัครเพิ่มเติมในภายหลัง

ถาม : นิสิตโปรแกรม Regular เข้าร่วมโครงการ GBT ได้ไหม

ตอบ : นิสิตโปรแกรม Regular สามารถเข้าร่วมโครงการ GBT ได้

ถาม : ต้องการเรียนหลักสูตร Regular แต่เป็นเวลาเย็นหรือเสาร์อาทิตย์ มีหรือไม่?

ตอบ : โปรแกรม MBA Regular เป็นโปรแกรมเรียนภาคปกติ ซึ่งมีแต่การเรียนในเวลาราชการเท่านั้น ไม่มีการเปิดรับเพื่อเรียนนอกเวลาราชการ

ถาม : หากมีประสบการณ์การทำงานเกิน 3 ปี สามารถลงเรียนโปรแกรม regular ได้หรือไม่

ตอบ : ถึงแม้ว่าหลักสูตรจะกำหนดเงื่อนไขว่า โปรแกรม MBA ผู้สมัครจะต้องมีประสบการณ์ขั้นต่ำ 0-1 ปี(ขึ้นกับแผนการเรียน)  ก็ไม่ได้หมายความว่าจะจำกัดที่ 1 ปีเท่านั้น หากมีประสบการณ์ทำงานเกิน 3 ปี ก็สามารถลงเรียนโปรแกรม regular ได้ทั้งแผน ก. และแผน ข.

ถาม : หลักสูตร Young Executive Batch ที่ 1 และ 2 เปิดรับสมัครพร้อมกันหรือไม่ และต่างกันเฉพาะช่วงเวลารับสมัครใช่หรือไม่

ตอบ : หลักสูตร Young Executive แต่ละ Batch เปิดรับสมัครไม่พร้อมกัน โดยทั้งสอง Batch ยังแตกต่างกันในเรื่องของเวลาเปิดเทอมและเวลาเรียน (Batch 1 เรียนวันเสาร์-อาทิตย์, Batch 2 เรียนวันธรรมดาเย็น ผู้สมัครสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://mba.cbs.chula.ac.th/admissions/

ถาม : หากมีประสบการณ์ทำงานยังไม่ถึง 3 ปี สามารถเรียนโปรแกรม Young Executive ได้หรือไม่ หรือมีข้อแนะนำอย่างไรบ้าง

ตอบ : ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงาน 3 ปีขึ้นไปจึงจะสามารถสมัครเรียนโปรแกรม Young Executive ได้ แนะนำให้ผู้สมัครหาประสบการณ์ทำงานเพิ่มอีกหนึ่งปีแล้วจึงค่อยมาสมัคร

ถาม : หลักสูตร MBA English Program มีภาคเย็นวันธรรมดาหรือไม่?

ตอบ : ปัจจุบัน MBA English Program เปิดสอนเฉพาะภาควันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น

ถาม : ต้องการสมัครสอบในโปรแกรมภาษาอังกฤษ (English Program) สามารถใช้คะแนน CU-BEST ภาษาไทยได้หรือไม่?

ตอบ : ไม่ได้ คะแนนสอบ CU-BEST ภาษาไทย ใช้สำหรับการสมัครสอบในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) ที่เป็นภาษาไทยเท่านั้น

ถาม : ต้องการสมัครสอบในโปรแกรมนักบริหาร (Executive) ต้องมีผลคะแนนสอบ CU-BESTหรือไม่?

ตอบ : การสมัครเข้าศึกษาในโปรแกรมนักบริหาร ไม่ต้องยื่นผลสอบ CU-BEST แต่ต้องยื่นผลสอบ CU-TEP หรือผลสอบภาษาอังกฤษที่เทียบเท่าเท่านั้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save