Skip to main content

MBA Global Business Experience: Exploring “Business, Sustainability, and Innovation in Japan”

Tokyo June 2024 MBA Global Business Experience: Exploring “Business, Sustainability, and Innovation in Japan”
ในวันแรกหลักสูตร MBA Chula ได้พานิสิตเยี่ยมชมและเข้ารับฟังการบรรยาย ณ GLOBIS University
เริ่มต้นด้วยการต้อนรับจาก Professor Satoshi Hirose คณบดีของ GLOBIS University Professor Satoshi ได้แบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับ CEO ของบริษัทชั้นนำในญี่ปุ่น โดยเน้นถึงการค้นหา “Guiding Principles” ซึ่งเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจในด้านต่างๆ ของผู้นำ เช่น Centralization vs. Decentralization, Mass vs. Segmentation หรือ Speed vs. Safety ดังนั้นสิ่งที่สำคัญสำหรับนิสิตคือการค้นหาและระบุ “คำสำคัญในชีวิต” เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นผู้นำในอนาคต
คณาจารย์และนิสิตได้ฟังการบรรยายและร่วมอภิปรายเรื่อง Introduction to Japanese Econony and Culture โดย Professor Kelvin Song ซึ่งได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นว่า ประเทศญี่ปุ่นมีการเผชิญหน้าความท้าทายต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจและสังคม ล้ำหน้ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น Flat Economy, Aging Population และ Solo Society ใน Session นี้ นิสิตได้เรียนรู้หลักการที่ประเทศญี่ปุ่นใช้ เช่น Structural Reforms เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนใหม่ในการทำงานและความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
ช่วงบ่าย Professor Jake Pratley ได้บรรยายและให้นิสิตร่วมอภิปรายปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคของ Godiva Japan ในการปรับตัวจากธุรกิจขายช็อกโกแลตพรีเมียม (Aspiration) สำหรับเป็นของฝากในโอกาสพิเศษ ให้เข้าถึงง่ายมากขึ้น (Accessibility) โดยการเพิ่มสินค้าและช่องทางการตลาดต่างๆ พร้อมทั้งต้องรักษาความเป็นแบรนด์พรีเมียมไว้อีกด้วย Guiding Principles ที่ Godiva Japan ใช้ คือ มุ่งเน้นการสร้าง Right Form ของสินค้า ประสบการณ์ในร้าน กลยุทธ์การโฆษณา และช่องทางการจัดจำหน่าย สำหรับ Session นี้ นิสิตได้เพิ่มพูนความเข้าใจในบริบทธุรกิจญี่ปุ่น และเรียนรู้แนวคิดที่น่าสนใจของบริบทประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมในบริบทอื่นได้
ในวันที่สอง นิสิตและคณาจารย์หลักสูตร MBA เข้าเยี่ยมชมโรงงานแยกขยะของ Ishizaka Sangyo ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้าน Industrial Waste Management ของประเทศญี่ปุ่น
เริ่มต้นด้วยการรับฟังการบรรยายเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มาพร้อมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของญี่ปุ่นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่ง Ishizaka เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ของญี่ปุ่นที่ตระหนักถึงปัญหานี้และได้ดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG
ในด้าน Environment ทางบริษัทเปลี่ยนสิ่งของเหลือทิ้งให้กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่า สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ สำหรับด้าน Society บริษัทใส่ใจสังคมและชุมชนในการดำเนินธุรกิจ และส่วน Governance บริษัทได้ใช้กลยุทธ์ในการจัดการเพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์จากธุรกิจที่มีภาพลักษณ์ติดลบเป็นธุรกิจที่ผู้คนในชุมชนยอมรับ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล
จากนั้นไปเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงงานแยกขยะ ซึ่งสามารถนำขยะกลับมาใช้เป็นทรัพยากรที่มีค่าได้ถึง 98% โดยไร้ซึ่งการเผาขยะ และใช้พลังงานทางเลือก 100% รวมทั้งเยี่ยมชม Satoyama Farm ระบบนิเวศน์และเกษตรกรรมตามแนวทาง Sustainable Farm เพื่อเป็นตัวอย่างให้สังคมก้าวผ่านสู่ยุคแห่งการบริโภคอย่างมีจริยธรรม
ช่วงอาหารกลางวัน Ishizaka ได้เตรียม Bento Box ที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์ Organic จากใน Satoyama Farm เช่น ไข่สด Organic จากแม่ไก่และผักสดในฟาร์ม นอกจากอิ่มอร่อยกับอาหารแล้ว นิสิตยังได้มีโอกาสฝึกทักษะการแยกขยะจากสิ่งที่เหลือหลังรับประทานอาหาร
ในช่วงบ่ายนิสิตได้ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน และการเยี่ยมชมโรงงานและ Satoyama Farm ทั้งนี้นิสิตได้เปรียบเทียบ Business Model ของธุรกิจรีไซเคิลและฟาร์มเพื่อสิ่งแวดล้อม ของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย กิจกรรมวันนี้ช่วยจุดประกายให้นิสิตในฐานะผู้นำรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม สังคม และปัญหาความท้าทายต่างๆ ที่โลกกำลังเผชิญ ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความยั่งยืน
💚Happy World Environment Day 💚
ในวันสุดท้าย ช่วงเช้านิสิตได้รับฟังการบรรยายเรื่อง Social Issues in Japan และ KIBOW Impact Investment Fund ซึ่ง GLOBIS University ให้การสนับสนุนแก่ Social Entrepreneurs โดย Professor Suzuka Kobayakawa และร่วมอภิปรายประเด็นปัญหาทางสังคมต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น
Professor Suzuka ได้แบ่งปันประสบการณ์ที่ KIBOW ได้สนับสนุนธุรกิจเพื่อสังคม ผ่าน Stakeholders’ Map โดยเริ่มจากการระบุถึง Stakeholders ที่เกี่ยวข้องในประเด็นสังคมนั้นๆ และ Resources ต่างๆ ที่จำเป็นที่ KIBOW ใช้ เช่น ความรู้ด้านการลงทุน การสร้าง Awareness และ Credibility เพื่อสนับสนุนการสร้างธุรกิจที่แก้ปัญหาสังคมนั้น ในการนี้ KIBOW เชื่อม Stakeholders ทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นนั้นๆ ใน Session นี้นิสิตได้ร่วมกันหารือถึงปัญหาทางสังคมในประเทศไทย พร้อมทั้งระบุ Stakeholders ที่เกี่ยวข้อง และ Resources ที่จำเป็นสำหรับแก้ปัญหาเหล่านั้น เพื่อสร้างธุรกิจเพื่อสังคม
ในช่วงบ่ายคณาจารย์และนิสิตได้เดินทางไป Shibuya เพื่อเยี่ยมชม D&Department ซึ่งเป็นธุรกิจที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์วัฒนธรรม โดยใช้แนวคิด Long Life Design ที่ให้ความสำคัญเรื่อง “เวลา” เน้นความทนทานและการออกแบบที่ยั่งยืน
“d47” เป็นโครงการหนึ่ง ซึ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนงานฝีมือและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากแต่ละจังหวัดในญี่ปุ่น นอกจากนี้ D&Department ยังมีโครงการเพื่อชุมชน เช่น “D Mart 47” ที่เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอสินค้าคุณภาพสูงจากทุกจังหวัด หรือโครงการนำของเหลือใช้มาประกอบกันเป็นสินค้าใหม่
การทำธุรกิจของ D&Department สะท้อนถึงความงดงามของการออกแบบข้ามกาลเวลาทำให้สินค้ามีคุณค่ามากขึ้น ใน Session นี้นิสิตได้เรียนรู้หลักการออกแบบเพื่อสร้างธุรกิจเพื่อสังคมที่สร้างสรรค์
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save