MBA students from Regular and English Program embarked on a field trip to Suan Sampran, Nakhon Pathom
On June 29, 2024 MBA students from Regular and English Program embarked on a field trip to Suan Sampran, Nakhon Pathom Province. They learned from Khun Arus Nawarach, the manager of Suan Sampran and founder of Sampran Model and Sukjai Market, about Social Contribution Business’ and ‘Business Development.’
.
Khun Arus recounted the origins of the ‘Sampran Model,’ aimed at addressing imbalances in the food system caused by agricultural chemical usage, pricing practices by middlemen, and waste management processes, all of which impact health, environment, society, and economy. The ‘Sampran Model’ focuses on organic farming to create value, safety, and connections between farmers and consumers at fair prices. It promotes learning and collaboration among farmers, entrepreneurs, and consumers, stimulating positive societal change.
.
Afterwards, they visited Patom Organic Farm to observe practices of organic farming, including rice planting, rice husking, learning herbal insect repellent techniques, vermicompost production, and organic waste management.
.
In the afternoon, the students participated in workshops to create organic products such as herbal inhaler, aromatherapy massage oil, organic rice scrub, and visited Sukjai Market, a venue selling products from farmers involved with the Sampran Model where they able to directly support for organic societal initiatives.
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา นิสิต MBA หลักสูตร Regular และ MBA English Program ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้รับเกียรติจาก คุณอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการสวนสามพราน ผู้ก่อตั้งสามพรานโมเดลและตลาดสุขใจ มาบรรยายในหัวข้อ “Social Contribution Business” และ “Business Development”
.
คุณอรุษได้เล่าถึงที่มาของ ‘สามพรานโมเดล’ ที่มุ่งแก้ไขปัญหาระบบอาหารที่ไม่สมดุล ทั้งจากการใช้สารเคมีของเกษตรกร การตั้งราคาของพ่อค้าคนกลางและกระบวนการจัดการขยะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
‘สามพรานโมเดล’ มุ่งเน้นการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างคุณค่า ความปลอดภัย และการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคด้วยราคาที่เป็นธรรม สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมกันระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ดีขึ้น
.
จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชม Patom Organic Farm เพื่อให้เห็นภาพการทำเกษตรอินทรีย์ชัดเจนยิ่งขึ้น ชมวิถีการดำนา การสีข้าวและฝัดข้าวแบบโบราณ เรียนรู้วิธีการทำสมุนไพรไล่แมลง การทำน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน รวมถึงการจัดการขยะโดยการนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์
.
ในช่วงบ่าย นิสิตได้ร่วมกิจกรรม workshop ทำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก เช่น ยาดมสมุนไพร น้ำมันนวดอโรม่า สครับข้าวออร์แกนิก และเยี่ยมชมตลาดสุขใจ สถานที่จำหน่ายสินค้าของกลุ่มเกษตรกรที่ร่วมกับสามพรานโมเดล สามารถอุดหนุนสินค้าจากเกษตรกรโดยตรง ถือเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและช่วยขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์