Skip to main content

MBA PROGRAM ADMISSIONS OPEN FOR 2025 เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568
ในโปรแกรม
MBA ภาคปกติ รุ่นที่ 44
เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 – 31 มีนาคม 2568 (ทางเว็ปไซด์บัณฑิตวิทยาลัย)

MBA นักบริหารระดับต้น รุ่นที่ 32/1 (เสาร์-อาทิตย์)
เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2567 – 31 มีนาคม 2568

MBA English Program รุ่นที่ 20
เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2567 – 31 มีนาคม 2568

MBA นักบริหาร รุ่นที่ 41
เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 15 มกราคม 2568 – 31 กรกฏาคม 2568

MBA นักบริหารระดับต้น รุ่นที่ 32/2 (เย็นวันธรรมดา)
เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2568 – 31 กรกฏาคม 2568

MBA Program
Chulalongkorn Business School

Open for applications for new students for the academic year 2025


MBA English Program # 20
Online Application Period : December1, 2024 – March 31, 2025.

ประกาศเลขที่นั่งสอบและผังสอบ CUBEST ครั้งที่4/2567

ประกาศเลขที่นั่งสอบและผังสอบ CUBEST ครั้งที่ 4/2567

วันสอบ : วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 :   เวลา 9.00-12.00 น.

[ รายชื่อและเลขที่สอบ ] – ตรวจสอบจากระบบรับสมัครสอบ CUBEST ONLINE ในเมนู “ใบสมัคร” เมนูย่อย “สถานที่สอบ”

[ ประกาศห้องสอบและสถานที่สอบ ]ตรวจสอบที่นี่

ระบบรับสมัครสอบ CUBEST ONLINE

การตรวจสอบคะแนน – คะแนนจะออกหลังจากที่สอบแล้วราว 3 วัน โดยสามารถเข้ามาตรวจสอบในระบบ จากเมนู “ประวัติการสมัครและคะแนน” และเลือก “พิมพ์ผลคะแนน”

ผลการสอบถือเป็นที่สิ้นสุด


***************************************************************
ทางคณะมีการจำกัดพื้นที่ลานจอดรถสำหรับนิสิตและบุคลากรของคณะฯเท่านั้น ผู้เข้าสอบที่นำรถมา สามารถจอดรถได้ที่อาคารจามจุรีสแควร์, อาคารจอดรถคณะรัฐศาสตร์ หรืออาคารจอดรถอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง
***************************************************************

[ แผนที่ห้องภายในพื้นที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อาคารไชยยศสมบัติ และ อาคารอนุสรณ์50ปี
]

*************************************************************


ระเบียบในการสอบ CU-BEST

  1. เวลาเริ่มสอบ 9.00 น. – 12.00 น.
  2. ผู้ที่มาหลังจาก 9.30 น.จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องสอบ
  3. ผู้เข้าสอบจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดง
    เพื่อเป็นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่คุมสอบ หากไม่ได้นำมาจะ
    ไม่ให้เข้าสอบโดยเด็ดขาด
  4. ในการสอบ ทางศูนย์จัดได้เตรียมเครื่องเขียนสำหรับ
    การสอบไว้ให้ผู้เข้าสอบแล้ว
  5. ห้ามใช้เครื่องคำนวณทุกประเภท และปิดเครื่องมือสื่อสาร
    ทุกชนิด
  6. ต้องแต่งกายสุภาพในการเข้าสอบ
  7. ไม่อนุญาตให้นำกระดาษใดๆเข้าไปยังโต๊ะที่นั่งสอบและ
    ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาส่วนใดของข้อสอบออกจาก
    ห้องสอบ “เด็ดขาด”
  8. หากทุจริตในการสอบ จะโดนตัดสิทธิ์  ในการสอบ
    CU-BEST ตลอดไป

นิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 เดินทางมาศึกษาดูงาน ณ เมืองมานน์ไฮม์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

นิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 เดินทางมาศึกษาดูงาน ณ เมืองมานน์ไฮม์ ประเทศเยอรมัน ระหว่างวันที่ 21-25 ตุลาคม 2567 เพื่อเสริมสร้าง Global Business Experience ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตร
สำหรับช่วงเช้าของวันแรก คณะนิสิตได้มาศึกษาดูงานที่ BASF Site Ludwigshafen เริ่มจากเจ้าหน้าที่ Visitor Center กล่าวแนะนำประวัติบริษัทและภาพรวมธุรกิจของ BASF บริษัทเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถนะ โภชนาการ-สุขภาพ และสินค้าเกษตร เพื่อป้อนวัตุดิบให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมและภาคการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก โดย Ludwigshafen เป็นนิคมอุตสาหกรรมเคมีแห่งแรกและมีขนาดใหญ่ที่สุดของ BASF
จากนั้นได้เยี่ยมชม Exhibition Hall เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจที่เข้าสู่ยุคแห่งความยั่งยืน และ นวัตกรรม ซึ่งกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทุกอุตสาหกรรม จึงเป็นโจทย์สำคัญของ BASF ที่ต้องทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกันกับลูกค้าที่ต้องการปรับธุรกิจเข้ากับสภาพแวดล้องทางธุรกิจยุคใหม่ เกิดเป็น สินค้าใหม่ วัสดุใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ ที่ยั่งยืน อาทิ เช่น สีและวัสดุยานยนต์ที่มีน้ำหนักเบาแต่ทนทาน ช่วยประหยัดน้ำมัน ประหยัดพลังงานไฟฟ้า วัสดุเสื้อผ้า Zara ที่ทำจากพลาสติกเหลือใช้ นอกจากนี้ BASF เองก็ได้เริ่มเข้าสู่ธุรกิจใหม่อย่าง วัสดุสำหรับการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
คณะนิสิตยังได้ศึกษาเกี่ยวกับ Site Ludwigshafen ที่มีขนาดใหญ่ถึง 10 ตารางกิโลเมตร ติดแม่น้ำไรน์ มีพนักงานกว่า 30,000 คน ออฟฟิศและโรงงานกว่า 2,000 อาคาร และ ท่อส่งรวมยาวกว่า 2,850 กม. เรียนรู้จุดเด่นการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง สูญเสียน้อย ด้วยระบบผลิตและขนส่งที่เชื่อมโยงกัน ควบคู่ไปกับการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ด้วยการรักษามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงสุด ไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือส่งผลกระทบต่อชุมชน เช่น ระบบป้องกันสารเคมีรั่วไหล ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศ รวมไปถึงการสร้างศูนย์การแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพพนักงานและชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Site Ludwigshafen ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนคู่กับชุมชนมากว่า 159 ปี
จากนั้นคณะนิสิตรับฟังการบรรยายขณะเข้าชม Site Tour บนรถบัส สำหรับการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักของ BASF เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยื่งยืน หน่วยงานวิจัยและพัฒนาได้นำ Super Computer มาช่วยวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสูตรการผลิตต่างๆ และช่วยคัดเลือกสูตรที่มีโอกาสสำเร็จสูงให้กับนักวิจัย หน่วยงานการผลิตศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการสร้างความร้อนของ Steam Crackers ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ และหน่วยงานขนส่งพัฒนาร่วมกับบริษัทพันธมิตร ผลิตตู้คอนเทนเนอร์จัดเก็บสารเคมีของ BASF เองทดแทนการเช่าตู้จากบริษัทขนส่ง โดย นวัตกรรมตู้เคมี ของ BASF นี้สามารถขนส่งได้ทั้ง เรือ รถไฟ รถยนต์ และสามารถจัดเก็บตู้ในแนวตั้งได้เป็นที่แรกของโลก

ช่วงบ่ายของวันแรกในทริปการดูงานของนิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 คณะนิสิตได้เข้าเยี่ยมชม โรงเบียร์ Klosterhof Heidelburg ณ เมือง Heidelburg ซึ่งเป็นโรงเบียร์ขนาดเล็กมีกำลังผลิต 250,000 ลิตรต่อปี โรงเบียร์แห่งนี้มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเบียร์แบบ Artisan โดยเน้นคุณภาพผ่านการใช้วัตถุดิบออร์แกนิกเช่น มอลต์และฮ็อปจากแหล่งที่มีชื่อเสียงในเยอรมนีอย่าง Hallertau และ Tettnang พร้อมใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทางโรงเบียร์ได้ให้ความรู้แต่ละขั้นตอนในการผลิตเบียร์ภายใต้กฏหมายของประเทศเยอรมันที่มีข้อจำกัดของวัตถุดิบที่นำมาในการผลิต ด้านการจัดจำหน่าย เพื่อให้คงความสดใหม่ของรสชาติและคุณภาพ จึงมีการวางจำหน่ายเพียงระยะ 30 กม. จากโรงเบียร์เท่านั้น โดยเน้นที่ร้านสะดวกซี้อเป็นหลัก จากการเยี่ยมชมได้เห็นตัวอย่าง การทำธุรกิจที่มีรูปแบบชัดเจนของโรงเบียร์ ที่มุ่งเน้นผลิตสินค้ามีคุณภาพ สู่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ดื่มเบียร์ออร์แกนิก ซึ่งมีราคาแพงกว่าเบียร์ทั่วไปถึงเท่าตัว ทำให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของธุรกิจ

สำหรับวันที่ 2 และวันที่ 3 (ช่วงเช้า) ในทริปการดูงานของนิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 คณะนิสิตได้รับฟังการบรรยายที่ Mannheim Business School ซึ่ง Mannheim เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจลำดับต้นๆ ของประเทศเยอรมัน
นิสิตได้รับฟังบรรยายหัวข้อ “New Germany – the end of the German idyll” จาก Professor Alexander Pfisterer โดยอาจารย์ได้บรรยายถึงภูมิประเทศ วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจของประเทศเยอรมันในปัจจุบัน รวมถึงความท้าทายต่างๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญ อาทิ เช่น
1. ความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ประเทศเยอรมันมียอดส่งออกลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอดีต
2. ความท้าทายด้านการบริหารจัดการพลังงานสำหรับใช้ภายในประเทศ ที่พึ่งพาการนำเข้าจากประเทศต่างๆ และการตัดสินใจเรื่องการไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในประเทศจนถึงปี 2040
3. ความท้าทายที่ประเทศเยอรมันเป็นประเทศที่มี Bureaucracy สูง หลายๆ เรื่องถูกกำกับมากเกินไป (Overregulated) ทำให้ประเทศขาดความคล่องตัวในการดำเนินงานในหลายมิติ
การบรรยายนี้ช่วยให้นิสิตได้เข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศเยอรมัน รวมถึงได้เห็นภาพรวมของความท้าทายที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเยอรมันกับปัญหาที่กำลังเผชิญในยุคปัจจุบัน
นอกจากนั้นคณะนิสิตยังได้รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง Entrepreneurship & Innovation จาก Professor Dennis Steininger โดยอาจารย์ได้นำเสนอภาพรวมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศเยอรมัน
หนึ่งในไฮไลท์สำคัญคือการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพในเมือง Mannheim หลายแห่ง โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและรัฐบาลท้องถิ่น แต่ละศูนย์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน เช่น ศูนย์ Mafinex ที่เน้นด้านเทคโนโลยี ศูนย์สำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ศูนย์ด้านสิ่งทอ และศูนย์ด้านเทคโนโลยีการแพทย์
นอกจากนั้นคณะนิสิตยังได้รับฟังการบรรยายจาก Mr. Daniel Antonatus ผู้ก่อตั้งและ CFO ของบริษัท Crateflow สตาร์ทอัพด้านการพยากรณ์อุปสงค์และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งได้แชร์ประสบการณ์การเริ่มต้นธุรกิจ และเคล็ดลับในการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร และต้องจัดการความท้าทายต่างๆ อย่างไรได้อย่างน่าสนใจ
การบรรยายนี้ทำให้นิสิตเห็นภาพชัดเจนถึงความพยายามของประเทศเยอรมันในการสร้างระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ แม้จะมีความท้าทายด้านกฎระเบียบและระบบราชการที่ซับซ้อน แต่การสนับสนุนอย่างเป็นระบบจากภาครัฐและสถาบันการศึกษาก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ และยังได้รับมุมมองที่น่าสนใจจากผู้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศเยอรมันอีกด้วย
ในช่วงบ่ายของวันที่ 3  คณะอาจารย์และนิสิตมาเยี่ยมชมไร่องุ่น Weingut von Winning ผู้ผลิตไวน์ระดับแนวหน้าของเยอรมนี ทริปนี้ไม่ได้มีแค่การดื่มด่ำรสชาติไวน์ชั้นเลิศ แต่นิสิตยังได้เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจของนิสิตในอนาคตด้วย ไร่องุ่น Weingut von Winning เป็นไร่องุ่นคุณภาพระดับโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน VDP (Verband Deutscher Prädikatsweingüter) ซึ่งการันตีคุณภาพระดับโลก เราได้เห็นถึงความมุ่งมั่น ความใส่ใจในรายละเอียด และระบบการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีที่เราสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของเราได้
นอกจากการชิมไวน์ นิสิตยังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์อันยาวนานของไร่องุ่นจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคก่อตั้งในปี 1849 จนถึงปัจจุบัน ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์และคุณภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรม ทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญของการผสมผสานระหว่าง “ความดั้งเดิม” และ “ความทันสมัย” เพื่อสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืน
จากต้นองุ่นสู่ขวดไวน์ Weingut von Winning ปลูกองุ่นเองในไร่ และควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว จนถึงกระบวนการผลิต ทำให้มั่นใจได้ว่า ไวน์ทุกขวด ล้วนเกิดจากวัตถุดิบชั้นเลิศ และความใส่ใจในทุกรายละเอียด ซึ่งเป็นสิ่งที่นิสิตสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้เช่นกัน
ไฮไลท์สำคัญของการเยี่ยมชมครั้งนี้ คือการได้ลิ้มลองไวน์คุณภาพ หลากหลายชนิด หลากหลายไสตล์ ไม่ว่าจะเป็น Riesling ที่หอมสดชื่น หรือไวน์แดงที่เข้มข้น เราได้เรียนรู้ถึง กลิ่น รสชาติ และเทคนิคการผลิตตามเอกลักษณ์ดั้งเดิม ที่ยังคงรักษาขั้นตอนและวัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่ทำให้ไวน์แต่ละขวดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ต่อด้วยการเดินชมห้องเก็บไวน์สุดคลาสสิค ที่ถูกสร้างขึ้นใต้ดิน ที่เต็มไปด้วยถังไม้โอ๊ค ทำให้นิสิตได้สัมผัสถึงบรรยากาศสุดคลาสสิค และเห็นถึงความพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิต
การเยี่ยมชม Weingut von Winning ในครั้งนี้ เป็นมากกว่าแค่การท่องเที่ยว แต่เป็นการเปิดประสบการณ์ เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนมุมมอง ทั้งในด้านการผลิตไวน์ และการบริหารธุรกิจที่ยึดมั่นในคุณค่า (Value) และ คุณภาพ (Quality) ของผลิตภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่องเป็นศตวรรษ ทำให้นิสิตได้ความรู้ แรงบันดาลใจ และมิตรภาพดีๆ กลับไป ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของเราให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การดูงานในวันที่ 4 และ 5 ของคณะนิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 คณะอาจารย์และนิสิตได้เข้าชม Mercedes-Benz Center ที่เมืองสตุทท์การ์ท ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 3 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของ Mercedes-Benz มีพนักงานกว่า 35,000 คน และสามารถผลิตรถยนต์กว่า 300,000 คันต่อปี โดยทุกคันผลิตตามออเดอร์ของลูกค้าเท่านั้น (made to order) 🚗✨
💼 ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ นิสิตได้เข้าชมขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ใช้เครื่องจักรและหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ในการแปรรูป metal sheet กว่า 300 ตันต่อวัน ซึ่งชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าทุกชิ้นที่ออกไปสู่การประกอบสมบูรณ์แบบและไร้ข้อบกพร่อง
🚙 จากนั้นได้เยี่ยมชมไลน์ประกอบรถยนต์ที่มีความยืดหยุ่นสูงสุด ซึ่งช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญสามารถประกอบรถยนต์ได้หลากหลายรุ่นพร้อมกัน และใช้หุ่นยนต์ AGV (Automatic Guide Vehicles) คอยจัดส่งอุปกรณ์อย่างเป็นระบบ ยิ่งกว่านั้น ภายในสายการผลิตยังใช้ระบบ Just-in-time เพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย
🌱 ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมของ Mercedes-Benz ก็โดดเด่นอย่างมาก บริษัทมีโรงงานใหม่ที่ใช้ระบบพ่นสีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าของตัวเอง และการรีไซเคิล metal sheet เหลือใช้เพื่อนำกลับไปหลอมใหม่
👨‍🔧👩‍🔧 บริเวณ Technology Center ที่เป็นแหล่งรวมวิศวกรและดีไซเนอร์กว่า 10,000 คนจากทั่วโลก เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมยานยนต์ที่ปลอดภัยและตรงใจลูกค้าที่สุด พร้อมถนนสำหรับทดสอบรถยนต์อย่างเข้มข้น ทำให้มั่นใจได้ว่ารถทุกคันพร้อมใช้งานเต็มประสิทธิภาพ
นับเป็นประสบการณ์แสนประทับใจที่ได้เห็นถึงการผลิตที่ล้ำสมัยและความมุ่งมั่นของ Mercedes-Benz ในการพัฒนาไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้างรถยนต์คุณภาพสูงที่พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

CUBEST(English) 2/2024 Open for Application

the score test for apply to MBA English Program for academic year 2025 (MBA English # 20)
—————————————
Application Period : November1 – December5, 2024
Check Test ID (on website) : December9, 2024
Exam Date : Sunday, December15, 2024 ( 8 – 12 o’clock)



more detail and Application —-> Menu CUBEST(English)

บรรยากาศ งาน CBS GRAND OPEN HOUSE 2024: The MASTERY JOURNEY

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน CBS GRAND OPEN HOUSE 2024: The MASTERY JOURNEY เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ Samyan Mitrtown Hall 1 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล คณบดี กล่าวเปิดงาน และเปิดหลักสูตรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิชยา กุวลัยรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วยคณาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
.
งานเปิดบ้านคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกจากหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งหมดรวม 14 หลักสูตร สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มโอกาสและความสำเร็จในสายอาชีพ รวมทั้งได้พบปะรุ่นพี่ทั้งศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าเพื่อพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับชีวิตในรั้วบัญชี จุฬาฯ นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้พูดคุยกับคณาจารย์ที่คอยให้คำแนะนำกับผู้สนใจด้วยบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง
 

หลักสูตร MBA Chula เสริมสร้างประสบการณ์และวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจระดับโลกให้กับนิสิตในทริปศึกษาดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

หลักสูตร MBA Chula เสริมสร้างประสบการณ์และวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจระดับโลกให้กับนิสิตในทริปศึกษาดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างวันที่ 8-12 ตุลาคม 2567
โดยในวันแรกของการดูงาน นิสิตได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมบริษัท Hashimoto Sogyo ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการก่อสร้างมายาวนานกว่า 135 ปีและมีสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น
ท่านประธาน Hashimoto ทายาทรุ่นที่ 4 ได้บรรยายแนวคิดที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่คำนึงถึง Stakeholders ทุกภาคส่วน นอกจากนี้ ทาง Hashimoto Sogyo ยังให้ความสำคัญในการร่วมมือกับภาครัฐและสถาบันการศึกษาชั้นนำเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย ในช่วงเข้า นิสิตยังได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Prof. Nakauchi รองอธิการบดีจาก University of Tsukuba ที่บรรยายในหัวข้อ “IoT and Beyond” รวมไปถึง President Miyawaki จาก National Policy Research Institute และ Director Miyagawa ที่เล่าถึงสภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น
สำหรับช่วงบ่าย ทางนิสิตได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ที่ช่วยฝึกอบรมพนักงานและลูกค้าซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ในช่วงค่ำ ได้มีการจัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่นระหว่างนิสิต คณาจารย์ และผู้บริหารของ Hashimoto Sogyo
“เปิดประสบการณ์ Smart City ที่ญี่ปุ่นกับนิสิต MBA”
ในวันที่สอง (10/10) ของการศึกษาดูงาน วันนี้พวกเราได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อง Urban Systems Design และ Smart City จาก Prof. Yoshiki Yamagata จาก Keio University หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น
รู้หรือไม่ว่า Smart City ไม่ได้หมายถึงแค่เมืองที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย แต่คือเมืองที่ใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้คนด้วย! Prof. Yamagata เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาสังคม สร้างเมืองที่น่าอยู่ มีระบบคมนาคมสะดวก และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Society 5.0 ที่มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์และเทคโนโลยีอย่างสมดุล
ช่วงบ่ายเราได้ไปเยี่ยมชม เมืองโยโกฮามา ซึ่งเป็นต้นแบบของ Smart City ในญี่ปุ่น ที่นี่มีการผสมผสานการใช้ชีวิต การทำงาน และการพักผ่อนอย่างลงตัว มีการจัดการพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการเดินเท้าและจักรยาน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ เช่น ตู้กดน้ำลดคาร์บอน และการปลูกสาหร่ายใต้น้ำเพื่อเพิ่ม Biodiversity ให้กับชุมชน
“เปิดประสบการณ์สุดว้าว! นิสิต MBA ชม Toyosu Smart City ที่ญี่ปุ่น 🇯🇵
การศึกษาดูงานในระหว่างวันที่ 8-12 ตุลาคม 2567
วันสุดท้ายของทริปศึกษาดูงานที่โตเกียว เราได้ไปสัมผัสอนาคตที่ Toyosu Smart City ซึ่งพัฒนาโดย Shimizu Corporation บริษัทก่อสร้างชื่อดังของญี่ปุ่น
ที่นี่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็น AI Camera ที่คอยตรวจจับจำนวนคนที่อยู่ในอาคาร หรือระบบจัดการภัยพิบัติที่สามารถรองรับผู้คนได้ถึง 200 คนเป็นเวลา 3 วัน! นอกจากนี้ ยังมีระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น รถบัสพลังงานไฮโดรเจน และรถบัสไร้คนขับ ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมญี่ปุ่น
ช่วงบ่าย เราได้ร่วมงาน Mirai-Ichi ของ Hashimoto Sogyo ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่รวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในอนาคต โดยมีบริษัทชั้นนำมาร่วมออกบูธกว่า 400 บริษัท!
ทริปนี้ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ แต่เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เราได้เห็นถึงโอกาสและความท้าทายในโลกธุรกิจยุคใหม่

CBS GRAND OPEN HOUSE 2024: The MASTERY JOURNEY!

งานเปิดบ้าน บัญชี จุฬาฯ กับ 14 หลักสูตรปริญญาโท-เอก ด้านบริหารธุรกิจ

🌟 CBS GRAND OPEN HOUSE 2024: The MASTERY JOURNEY! 🌟
งานเปิดบ้าน บัญชี จุฬาฯ กับ 14 หลักสูตรปริญญาโท-เอก ด้านบริหารธุรกิจ
ที่จะเป็นการเดินทางสู่ประสบการณ์ใหม่ พร้อมอัปเดตเทรนด์สำคัญในโลกธุรกิจไปด้วยกัน
เปิดงานโดยคณบดี คณะบัญชี จุฬาฯ รศ.ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล
.
🚀 มาร่วมฟัง 4 Sessions ที่เต็มไปด้วยความรู้จาก Master ตัวจริงจากคณะบัญชี จุฬาฯ! 🚀
.
🌍 1. Mastery of Uncertain World and Sustainability: ค้นพบกลยุทธ์การแข่งขันที่ยั่งยืนในโลกที่ไม่แน่นอน จากหลักสูตร MBA (Thai), MSB, MBM (Thai), MSCG และ M.Acc
.
🌐 2. Mastery of the Glo-Cal Game: เมื่อ Global กับ Local ไม่มีเส้นแบ่งอีกต่อไป เราจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำธุรกิจในโลกได้อย่างไร? จากหลักสูตร MM, MSF, MFE, MBA (Eng), และ MBM (Eng)
.
🤖 3. Mastery of AI & Data-Driven Era: เตรียมตัวสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI และค้นหาวิธีใช้ข้อมูลเพื่อมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากหลักสูตร MS STAT & DATA SCI, MSc IT in Business, BSD Chula, และ MSc Insurance
.
📚 4. Mastery of Sustainable & Impactful Research: สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน จากองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยที่มีคุณภาพ กับหลักสูตร Ph.D. in Accountancy และ Ph.D. in Business
.
🎉 อย่าพลาดโอกาสนี้! มาสร้างอนาคต และเริ่มต้นการเดินทางสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน
📅 วันที่: 20 ตุลาคม 2024
⏰ เวลา: 13.00-17.00 น.
📍 สถานที่: Samyan Mitrtown Hall 1
💡 ลงทะเบียนได้ที่ https://www.cbs.chula.ac.th/

https://www.cbs.chula.ac.th/grand-open-house-2024/

 


.
#CBSGrandOpenHouse2024 #MasteryJourney #ChulalongkornBusinessSchool #TopBusinessSchoolWithTripleCrownAccreditation #CBSIMPACT #CBSPEOPLE

ลงทะเบียนได้ที่
https://www.cbs.chula.ac.th/grand-open-house-2024/

เปิดรับสมัคร CU-BEST ครั้งที่ 4/2567

เปิดรับสมัครสอบ !
CUBEST ครั้งที่ 4/2567
สำหรับยื่นเพื่อสมัครในโปรแกรม MBA Regular, MBA Young Exective
และโปรแกรมอื่นๆที่ใช้คะแนนสอบ CUBEST ในการสมัคร

การสอบความถนัดทางธุรกิจแนว GMAT สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรต่างๆในระดับปริญญาโท/เอก ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(MBA), หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ, หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการตลาด, หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต เป็นต้น

CUBEST ครั้งที่ 4/2567
เปิดรับสมัครสอบระหว่างวันที่                : 1 ตุลาคม – 13 พฤศจิกายน 2567
ประกาศผังที่นั่งสอบและเลขที่สอบ        : วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567 (ทางระบบรับสมัคร)
วันสอบ                                                : วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567
เวลาสอบ                                             :เวลา 9.00-12.00 น. 
สถานที่สอบ                                         : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ*

หมายเหตุ*
จัดสอบในบริเวณคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ

รายละเอียดและไปยังเว็ปไซด์ระบบรับสมัครสอบ CUBEST

———————————————————————————————-
การจัดสอบ CUBEST ใช้รูปแบบการจัดการ การเปิด-ปิดระบบเวลารับสมัครสอบ กระบวนการสอบ ไม่เหมือนกับการจัดสอบ CU-TEP ที่ดำเนินการโดยศูนย์ทดสอบแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นนิสิตใหม่ – หลักสูตร MBA นักบริหาร รุ่นที่ 40 ภาคปลาย ประจำปี 2567

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นนิสิตใหม่ – หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
นักบริหาร Executive 
รุ่นที่ 40
ประจำภาคปลาย ปีการศึกษา 2567
———————————————————————
ตรวจสอบเลขที่ของผู้ผ่านการสัมภาษณ์
———————————————————————

ผลการประกาศถือเป็นที่สิ้นสุด !


ขอให้ผู้ที่สอบผ่าน รายงานตัว โดยศึกษาข้อมูลตามรายละเอียดด้านล่างนี้
[ ขั้นตอนการรายงานตัวส่งทางอีเมล์ของผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือก]

รายงานตัว “ด้วยตนเอง” ได้ระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2567 
ณ ห้องหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต อาคารอนุสรณ์ 50 ปี
วันศุกร์ เวลา 9.00 – 12.00 น. และ 13.00 – 19.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 – 11.45 น. และ 12.45 – 15.30 น.

คู่มือการกรอกข้อมูลนิสิตใหม่ – เพื่อกรอกประวัตินิสิตใหม่ ใช้เป็นเอกสารรายงานตัว
(ส่งให้ทางอีเมล์ของผู้ผ่านการสอบคัดเลือก)
*หมายเหตุ : กรอกข้อมูลประวัติเท่านั้น โดยไม่ต้องเลือกหลักสูตรฯ

คู่มือการใช้งานระบบสั่งพิมพ์ใบชำระเงิน [ Click Here ]
*หมายเหตุเพิ่มเติม :
1. กรุณากรอกชื่อ-นามสกุลในระบบ เป็นภาษาไทย เท่านั้น
2. เลข 3ตัวด้านหลังเลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขรหัสอ้างอิงไม่มีผลต่อการนำไปชำระเงิน
ชำระเงินค่าธรรมเนียมปรับพื้นฐานได้ระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2567

*****************************************************

ปฐมนิเทศ – ระหว่างวันที่ 27-29 กันยายน 2567
[ กำหนดการปฐมนิเทศ  – ส่งทางอีเมล์ของผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ ]

ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นนิสิตใหม่ – หลักสูตร MBA นักบริหารระดับต้น 31/2 ภาคปลายประจำปีการศึกษา 2567

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นนิสิตใหม่ – หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
นักบริหารระดับต้น Young Executive (ภาคเย็นวันธรรมดา)
รุ่นที่ 31/2
ประจำภาคปลาย ปีการศึกษา 2567
———————————————————————

ประกาศเลขที่ใบสมัครของผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ 

———————————————————————

ผลการประกาศถือเป็นที่สิ้นสุด !


ขอให้ผู้ที่สอบผ่าน รายงานตัว โดยศึกษาข้อมูลตามรายละเอียดด้านล่างนี้
[ ขั้นตอนการรายงานตัวส่งทางอีเมล์ของผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ ]

รายงานตัว “ด้วยตนเอง“ได้ระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2567
ณ ห้องหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต อาคารอนุสรณ์ 50 ปี  ชั้น5
วันศุกร์ เวลา 9.00 – 12.00 น. และ 13.00 – 19.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 – 11.30 น. และ 13.00 – 15.30 น.

คู่มือการกรอกข้อมูลนิสิตใหม่ – เพื่อกรอกประวัตินิสิตใหม่กับทางบัณฑิตวิทยาลัย และสั่งพิมพ์เอกสารเพื่อใช้เป็นเอกสารรายงานตัว (ส่งทางอีเมล์ของผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์)
*หมายเหตุ : กรอกข้อมูลประวัติเท่านั้น ไม่ต้องเลือกหลักสูตรฯ และไม่ต้องส่งใบสมัครกับทางเว็บบัณฑิตวิทยาลัย

คู่มือการใช้งานระบบสั่งพิมพ์ใบชำระเงิน [ Click Here ]
*หมายเหตุเพิ่มเติม :
1. กรุณากรอกชื่อ-นามสกุลในระบบ เป็นภาษาไทย เท่านั้น
2. เลข 3ตัวด้านหลังเลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขรหัสอ้างอิงไม่มีผลต่อการนำไปชำระเงิน

*****************************************************

ปฐมนิเทศ – วันเสาร์ที่ 5-6 ตุลาคม 2567
[ กำหนดการปฐมนิเทศ  – ส่งทางอีเมล์ของผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ ]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save