Skip to main content

นิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 เดินทางมาศึกษาดูงาน ณ เมืองมานน์ไฮม์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

นิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 เดินทางมาศึกษาดูงาน ณ เมืองมานน์ไฮม์ ประเทศเยอรมัน ระหว่างวันที่ 21-25 ตุลาคม 2567 เพื่อเสริมสร้าง Global Business Experience ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตร
สำหรับช่วงเช้าของวันแรก คณะนิสิตได้มาศึกษาดูงานที่ BASF Site Ludwigshafen เริ่มจากเจ้าหน้าที่ Visitor Center กล่าวแนะนำประวัติบริษัทและภาพรวมธุรกิจของ BASF บริษัทเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถนะ โภชนาการ-สุขภาพ และสินค้าเกษตร เพื่อป้อนวัตุดิบให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมและภาคการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก โดย Ludwigshafen เป็นนิคมอุตสาหกรรมเคมีแห่งแรกและมีขนาดใหญ่ที่สุดของ BASF
จากนั้นได้เยี่ยมชม Exhibition Hall เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจที่เข้าสู่ยุคแห่งความยั่งยืน และ นวัตกรรม ซึ่งกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทุกอุตสาหกรรม จึงเป็นโจทย์สำคัญของ BASF ที่ต้องทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกันกับลูกค้าที่ต้องการปรับธุรกิจเข้ากับสภาพแวดล้องทางธุรกิจยุคใหม่ เกิดเป็น สินค้าใหม่ วัสดุใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ ที่ยั่งยืน อาทิ เช่น สีและวัสดุยานยนต์ที่มีน้ำหนักเบาแต่ทนทาน ช่วยประหยัดน้ำมัน ประหยัดพลังงานไฟฟ้า วัสดุเสื้อผ้า Zara ที่ทำจากพลาสติกเหลือใช้ นอกจากนี้ BASF เองก็ได้เริ่มเข้าสู่ธุรกิจใหม่อย่าง วัสดุสำหรับการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
คณะนิสิตยังได้ศึกษาเกี่ยวกับ Site Ludwigshafen ที่มีขนาดใหญ่ถึง 10 ตารางกิโลเมตร ติดแม่น้ำไรน์ มีพนักงานกว่า 30,000 คน ออฟฟิศและโรงงานกว่า 2,000 อาคาร และ ท่อส่งรวมยาวกว่า 2,850 กม. เรียนรู้จุดเด่นการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง สูญเสียน้อย ด้วยระบบผลิตและขนส่งที่เชื่อมโยงกัน ควบคู่ไปกับการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ด้วยการรักษามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงสุด ไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือส่งผลกระทบต่อชุมชน เช่น ระบบป้องกันสารเคมีรั่วไหล ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศ รวมไปถึงการสร้างศูนย์การแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพพนักงานและชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Site Ludwigshafen ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนคู่กับชุมชนมากว่า 159 ปี
จากนั้นคณะนิสิตรับฟังการบรรยายขณะเข้าชม Site Tour บนรถบัส สำหรับการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักของ BASF เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยื่งยืน หน่วยงานวิจัยและพัฒนาได้นำ Super Computer มาช่วยวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสูตรการผลิตต่างๆ และช่วยคัดเลือกสูตรที่มีโอกาสสำเร็จสูงให้กับนักวิจัย หน่วยงานการผลิตศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการสร้างความร้อนของ Steam Crackers ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ และหน่วยงานขนส่งพัฒนาร่วมกับบริษัทพันธมิตร ผลิตตู้คอนเทนเนอร์จัดเก็บสารเคมีของ BASF เองทดแทนการเช่าตู้จากบริษัทขนส่ง โดย นวัตกรรมตู้เคมี ของ BASF นี้สามารถขนส่งได้ทั้ง เรือ รถไฟ รถยนต์ และสามารถจัดเก็บตู้ในแนวตั้งได้เป็นที่แรกของโลก

ช่วงบ่ายของวันแรกในทริปการดูงานของนิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 คณะนิสิตได้เข้าเยี่ยมชม โรงเบียร์ Klosterhof Heidelburg ณ เมือง Heidelburg ซึ่งเป็นโรงเบียร์ขนาดเล็กมีกำลังผลิต 250,000 ลิตรต่อปี โรงเบียร์แห่งนี้มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเบียร์แบบ Artisan โดยเน้นคุณภาพผ่านการใช้วัตถุดิบออร์แกนิกเช่น มอลต์และฮ็อปจากแหล่งที่มีชื่อเสียงในเยอรมนีอย่าง Hallertau และ Tettnang พร้อมใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทางโรงเบียร์ได้ให้ความรู้แต่ละขั้นตอนในการผลิตเบียร์ภายใต้กฏหมายของประเทศเยอรมันที่มีข้อจำกัดของวัตถุดิบที่นำมาในการผลิต ด้านการจัดจำหน่าย เพื่อให้คงความสดใหม่ของรสชาติและคุณภาพ จึงมีการวางจำหน่ายเพียงระยะ 30 กม. จากโรงเบียร์เท่านั้น โดยเน้นที่ร้านสะดวกซี้อเป็นหลัก จากการเยี่ยมชมได้เห็นตัวอย่าง การทำธุรกิจที่มีรูปแบบชัดเจนของโรงเบียร์ ที่มุ่งเน้นผลิตสินค้ามีคุณภาพ สู่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ดื่มเบียร์ออร์แกนิก ซึ่งมีราคาแพงกว่าเบียร์ทั่วไปถึงเท่าตัว ทำให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของธุรกิจ

สำหรับวันที่ 2 และวันที่ 3 (ช่วงเช้า) ในทริปการดูงานของนิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 คณะนิสิตได้รับฟังการบรรยายที่ Mannheim Business School ซึ่ง Mannheim เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจลำดับต้นๆ ของประเทศเยอรมัน
นิสิตได้รับฟังบรรยายหัวข้อ “New Germany – the end of the German idyll” จาก Professor Alexander Pfisterer โดยอาจารย์ได้บรรยายถึงภูมิประเทศ วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจของประเทศเยอรมันในปัจจุบัน รวมถึงความท้าทายต่างๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญ อาทิ เช่น
1. ความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ประเทศเยอรมันมียอดส่งออกลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอดีต
2. ความท้าทายด้านการบริหารจัดการพลังงานสำหรับใช้ภายในประเทศ ที่พึ่งพาการนำเข้าจากประเทศต่างๆ และการตัดสินใจเรื่องการไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในประเทศจนถึงปี 2040
3. ความท้าทายที่ประเทศเยอรมันเป็นประเทศที่มี Bureaucracy สูง หลายๆ เรื่องถูกกำกับมากเกินไป (Overregulated) ทำให้ประเทศขาดความคล่องตัวในการดำเนินงานในหลายมิติ
การบรรยายนี้ช่วยให้นิสิตได้เข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศเยอรมัน รวมถึงได้เห็นภาพรวมของความท้าทายที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเยอรมันกับปัญหาที่กำลังเผชิญในยุคปัจจุบัน
นอกจากนั้นคณะนิสิตยังได้รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง Entrepreneurship & Innovation จาก Professor Dennis Steininger โดยอาจารย์ได้นำเสนอภาพรวมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศเยอรมัน
หนึ่งในไฮไลท์สำคัญคือการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพในเมือง Mannheim หลายแห่ง โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและรัฐบาลท้องถิ่น แต่ละศูนย์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน เช่น ศูนย์ Mafinex ที่เน้นด้านเทคโนโลยี ศูนย์สำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ศูนย์ด้านสิ่งทอ และศูนย์ด้านเทคโนโลยีการแพทย์
นอกจากนั้นคณะนิสิตยังได้รับฟังการบรรยายจาก Mr. Daniel Antonatus ผู้ก่อตั้งและ CFO ของบริษัท Crateflow สตาร์ทอัพด้านการพยากรณ์อุปสงค์และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งได้แชร์ประสบการณ์การเริ่มต้นธุรกิจ และเคล็ดลับในการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร และต้องจัดการความท้าทายต่างๆ อย่างไรได้อย่างน่าสนใจ
การบรรยายนี้ทำให้นิสิตเห็นภาพชัดเจนถึงความพยายามของประเทศเยอรมันในการสร้างระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ แม้จะมีความท้าทายด้านกฎระเบียบและระบบราชการที่ซับซ้อน แต่การสนับสนุนอย่างเป็นระบบจากภาครัฐและสถาบันการศึกษาก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ และยังได้รับมุมมองที่น่าสนใจจากผู้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศเยอรมันอีกด้วย
ในช่วงบ่ายของวันที่ 3  คณะอาจารย์และนิสิตมาเยี่ยมชมไร่องุ่น Weingut von Winning ผู้ผลิตไวน์ระดับแนวหน้าของเยอรมนี ทริปนี้ไม่ได้มีแค่การดื่มด่ำรสชาติไวน์ชั้นเลิศ แต่นิสิตยังได้เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจของนิสิตในอนาคตด้วย ไร่องุ่น Weingut von Winning เป็นไร่องุ่นคุณภาพระดับโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน VDP (Verband Deutscher Prädikatsweingüter) ซึ่งการันตีคุณภาพระดับโลก เราได้เห็นถึงความมุ่งมั่น ความใส่ใจในรายละเอียด และระบบการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีที่เราสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของเราได้
นอกจากการชิมไวน์ นิสิตยังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์อันยาวนานของไร่องุ่นจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคก่อตั้งในปี 1849 จนถึงปัจจุบัน ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์และคุณภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรม ทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญของการผสมผสานระหว่าง “ความดั้งเดิม” และ “ความทันสมัย” เพื่อสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืน
จากต้นองุ่นสู่ขวดไวน์ Weingut von Winning ปลูกองุ่นเองในไร่ และควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว จนถึงกระบวนการผลิต ทำให้มั่นใจได้ว่า ไวน์ทุกขวด ล้วนเกิดจากวัตถุดิบชั้นเลิศ และความใส่ใจในทุกรายละเอียด ซึ่งเป็นสิ่งที่นิสิตสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้เช่นกัน
ไฮไลท์สำคัญของการเยี่ยมชมครั้งนี้ คือการได้ลิ้มลองไวน์คุณภาพ หลากหลายชนิด หลากหลายไสตล์ ไม่ว่าจะเป็น Riesling ที่หอมสดชื่น หรือไวน์แดงที่เข้มข้น เราได้เรียนรู้ถึง กลิ่น รสชาติ และเทคนิคการผลิตตามเอกลักษณ์ดั้งเดิม ที่ยังคงรักษาขั้นตอนและวัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่ทำให้ไวน์แต่ละขวดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ต่อด้วยการเดินชมห้องเก็บไวน์สุดคลาสสิค ที่ถูกสร้างขึ้นใต้ดิน ที่เต็มไปด้วยถังไม้โอ๊ค ทำให้นิสิตได้สัมผัสถึงบรรยากาศสุดคลาสสิค และเห็นถึงความพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิต
การเยี่ยมชม Weingut von Winning ในครั้งนี้ เป็นมากกว่าแค่การท่องเที่ยว แต่เป็นการเปิดประสบการณ์ เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนมุมมอง ทั้งในด้านการผลิตไวน์ และการบริหารธุรกิจที่ยึดมั่นในคุณค่า (Value) และ คุณภาพ (Quality) ของผลิตภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่องเป็นศตวรรษ ทำให้นิสิตได้ความรู้ แรงบันดาลใจ และมิตรภาพดีๆ กลับไป ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของเราให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การดูงานในวันที่ 4 และ 5 ของคณะนิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 คณะอาจารย์และนิสิตได้เข้าชม Mercedes-Benz Center ที่เมืองสตุทท์การ์ท ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 3 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของ Mercedes-Benz มีพนักงานกว่า 35,000 คน และสามารถผลิตรถยนต์กว่า 300,000 คันต่อปี โดยทุกคันผลิตตามออเดอร์ของลูกค้าเท่านั้น (made to order) 🚗✨
💼 ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ นิสิตได้เข้าชมขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ใช้เครื่องจักรและหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ในการแปรรูป metal sheet กว่า 300 ตันต่อวัน ซึ่งชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าทุกชิ้นที่ออกไปสู่การประกอบสมบูรณ์แบบและไร้ข้อบกพร่อง
🚙 จากนั้นได้เยี่ยมชมไลน์ประกอบรถยนต์ที่มีความยืดหยุ่นสูงสุด ซึ่งช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญสามารถประกอบรถยนต์ได้หลากหลายรุ่นพร้อมกัน และใช้หุ่นยนต์ AGV (Automatic Guide Vehicles) คอยจัดส่งอุปกรณ์อย่างเป็นระบบ ยิ่งกว่านั้น ภายในสายการผลิตยังใช้ระบบ Just-in-time เพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย
🌱 ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมของ Mercedes-Benz ก็โดดเด่นอย่างมาก บริษัทมีโรงงานใหม่ที่ใช้ระบบพ่นสีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าของตัวเอง และการรีไซเคิล metal sheet เหลือใช้เพื่อนำกลับไปหลอมใหม่
👨‍🔧👩‍🔧 บริเวณ Technology Center ที่เป็นแหล่งรวมวิศวกรและดีไซเนอร์กว่า 10,000 คนจากทั่วโลก เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมยานยนต์ที่ปลอดภัยและตรงใจลูกค้าที่สุด พร้อมถนนสำหรับทดสอบรถยนต์อย่างเข้มข้น ทำให้มั่นใจได้ว่ารถทุกคันพร้อมใช้งานเต็มประสิทธิภาพ
นับเป็นประสบการณ์แสนประทับใจที่ได้เห็นถึงการผลิตที่ล้ำสมัยและความมุ่งมั่นของ Mercedes-Benz ในการพัฒนาไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้างรถยนต์คุณภาพสูงที่พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

หลักสูตร MBA Chula เสริมสร้างประสบการณ์และวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจระดับโลกให้กับนิสิตในทริปศึกษาดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

หลักสูตร MBA Chula เสริมสร้างประสบการณ์และวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจระดับโลกให้กับนิสิตในทริปศึกษาดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างวันที่ 8-12 ตุลาคม 2567
โดยในวันแรกของการดูงาน นิสิตได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมบริษัท Hashimoto Sogyo ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการก่อสร้างมายาวนานกว่า 135 ปีและมีสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น
ท่านประธาน Hashimoto ทายาทรุ่นที่ 4 ได้บรรยายแนวคิดที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่คำนึงถึง Stakeholders ทุกภาคส่วน นอกจากนี้ ทาง Hashimoto Sogyo ยังให้ความสำคัญในการร่วมมือกับภาครัฐและสถาบันการศึกษาชั้นนำเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย ในช่วงเข้า นิสิตยังได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Prof. Nakauchi รองอธิการบดีจาก University of Tsukuba ที่บรรยายในหัวข้อ “IoT and Beyond” รวมไปถึง President Miyawaki จาก National Policy Research Institute และ Director Miyagawa ที่เล่าถึงสภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น
สำหรับช่วงบ่าย ทางนิสิตได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ที่ช่วยฝึกอบรมพนักงานและลูกค้าซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ในช่วงค่ำ ได้มีการจัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่นระหว่างนิสิต คณาจารย์ และผู้บริหารของ Hashimoto Sogyo
“เปิดประสบการณ์ Smart City ที่ญี่ปุ่นกับนิสิต MBA”
ในวันที่สอง (10/10) ของการศึกษาดูงาน วันนี้พวกเราได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อง Urban Systems Design และ Smart City จาก Prof. Yoshiki Yamagata จาก Keio University หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น
รู้หรือไม่ว่า Smart City ไม่ได้หมายถึงแค่เมืองที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย แต่คือเมืองที่ใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้คนด้วย! Prof. Yamagata เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาสังคม สร้างเมืองที่น่าอยู่ มีระบบคมนาคมสะดวก และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Society 5.0 ที่มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์และเทคโนโลยีอย่างสมดุล
ช่วงบ่ายเราได้ไปเยี่ยมชม เมืองโยโกฮามา ซึ่งเป็นต้นแบบของ Smart City ในญี่ปุ่น ที่นี่มีการผสมผสานการใช้ชีวิต การทำงาน และการพักผ่อนอย่างลงตัว มีการจัดการพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการเดินเท้าและจักรยาน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ เช่น ตู้กดน้ำลดคาร์บอน และการปลูกสาหร่ายใต้น้ำเพื่อเพิ่ม Biodiversity ให้กับชุมชน
“เปิดประสบการณ์สุดว้าว! นิสิต MBA ชม Toyosu Smart City ที่ญี่ปุ่น 🇯🇵
การศึกษาดูงานในระหว่างวันที่ 8-12 ตุลาคม 2567
วันสุดท้ายของทริปศึกษาดูงานที่โตเกียว เราได้ไปสัมผัสอนาคตที่ Toyosu Smart City ซึ่งพัฒนาโดย Shimizu Corporation บริษัทก่อสร้างชื่อดังของญี่ปุ่น
ที่นี่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็น AI Camera ที่คอยตรวจจับจำนวนคนที่อยู่ในอาคาร หรือระบบจัดการภัยพิบัติที่สามารถรองรับผู้คนได้ถึง 200 คนเป็นเวลา 3 วัน! นอกจากนี้ ยังมีระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น รถบัสพลังงานไฮโดรเจน และรถบัสไร้คนขับ ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมญี่ปุ่น
ช่วงบ่าย เราได้ร่วมงาน Mirai-Ichi ของ Hashimoto Sogyo ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่รวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในอนาคต โดยมีบริษัทชั้นนำมาร่วมออกบูธกว่า 400 บริษัท!
ทริปนี้ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ แต่เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เราได้เห็นถึงโอกาสและความท้าทายในโลกธุรกิจยุคใหม่

Exciting Adventures with the Global Business Track (GBT)!

Exciting Adventures with the Global Business Track (GBT)!
Our GBT students had the incredible opportunity to explore the cultural and historical wonders of Ayutthaya, the ancient capital of Thailand. From breathtaking ancient sites to fascinating museums, every moment was filled with awe and learning. This journey not only enriched their knowledge of Thai history but also provided endless fun and unforgettable experiences. We’re thrilled to see our international students gaining so much from this beautiful adventure!

นิสิตหลักสูตร MBA Young Executive ศึกษาดูงานธุรกิจสายการบินและกิจกรรม CSR สถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย

ภายใต้การเรียนการสอนวิชา Business Ethics and Creating Shared Values (CSV) นิสิตหลักสูตร MBA Young Executive 30/1 ในเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา นิสิตได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงานการดำเนินงานของสายการบิน Thai Air Asia ณ ศูนย์ฝึกและพัฒนาบุคลากร Air Asia Aviation Academy และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง โดยความร่วมมือและความอนุเคราะห์จาก คุณกฤษ พัฒนสาร ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ (ศิษย์เก่า MBA Executive 37) และทีมงาน ทำให้นิสิตเข้าใจถึงระบบการทำงานขององค์กรที่ให้ความสำคัญในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในการให้บริการ และยังมุ่งเน้นที่จะพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงในการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สายการบินสามารถแข่งขันในเวทีโลกและพาให้องค์กรก้าวไปสู่ความยั่งยืน พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงค่านิยมของการทำงานในองค์กรที่มุ่งเน้นให้ทำงานอย่างสนุก มีความสุขซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานเป็นไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ในวันที่สองของการศึกษาดูงานในวิชา Business Ethics and Creating Shared Values (CSV) ของนิสิตหลักสูตร MBA Young Executive 30/1 หลักสูตรฯได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (SACIT) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีเป้าหมายในการผลักดัน และสนับสนุนอุตสาหกรรมศิลปหัตถกรรมของประเทศไทยให้มีการพัฒนาเท่าทันยุคสมัย และเติบโตไปได้ในอนาคต พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการสืบสานถ่ายทอดทักษะของครูช่างที่มีฝีมือในการผลิตงานศิลปหัตกรรมไทยให้คงอยู่และสืบสานอย่างต่อเนื่องให้กับคนรุ่นหลัง
.
และนิสิตยังได้มีโอกาสเข้าชมนิทรรศการที่จัดแสดง ณ ศูนย์จัดแสดงขององค์กร ซึ่งนิทรรศการได้บอกเล่าเรื่องราวรูปแบบ แขนงของศิลปหัตถกรรมของไทย ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในรูปแบบดั้งเดิมจากครูช่างฝีมืออาวุโสที่อยู่ในเครือข่ายของ SACIT และผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาต่อยอด ผสมผสานศิลปะแขนงอื่น ๆ และมีความร่วมสมัย อีกทั้ง SACIT ยังเป็นที่จัดเก็บฐานข้อมูลวิธีการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่าของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย

MBA students from Regular and English Program embarked on a field trip to Suan Sampran, Nakhon Pathom

On June 29, 2024 MBA students from Regular and English Program embarked on a field trip to Suan Sampran, Nakhon Pathom Province. They learned from Khun Arus Nawarach, the manager of Suan Sampran and founder of Sampran Model and Sukjai Market, about Social Contribution Business’ and ‘Business Development.’
.
Khun Arus recounted the origins of the ‘Sampran Model,’ aimed at addressing imbalances in the food system caused by agricultural chemical usage, pricing practices by middlemen, and waste management processes, all of which impact health, environment, society, and economy. The ‘Sampran Model’ focuses on organic farming to create value, safety, and connections between farmers and consumers at fair prices. It promotes learning and collaboration among farmers, entrepreneurs, and consumers, stimulating positive societal change.
.
Afterwards, they visited Patom Organic Farm to observe practices of organic farming, including rice planting, rice husking, learning herbal insect repellent techniques, vermicompost production, and organic waste management.
.
In the afternoon, the students participated in workshops to create organic products such as herbal inhaler, aromatherapy massage oil, organic rice scrub, and visited Sukjai Market, a venue selling products from farmers involved with the Sampran Model where they able to directly support for organic societal initiatives.
 
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา นิสิต MBA หลักสูตร Regular และ MBA English Program ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้รับเกียรติจาก คุณอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการสวนสามพราน ผู้ก่อตั้งสามพรานโมเดลและตลาดสุขใจ มาบรรยายในหัวข้อ “Social Contribution Business” และ “Business Development”
.
คุณอรุษได้เล่าถึงที่มาของ ‘สามพรานโมเดล’ ที่มุ่งแก้ไขปัญหาระบบอาหารที่ไม่สมดุล ทั้งจากการใช้สารเคมีของเกษตรกร การตั้งราคาของพ่อค้าคนกลางและกระบวนการจัดการขยะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
‘สามพรานโมเดล’ มุ่งเน้นการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างคุณค่า ความปลอดภัย และการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคด้วยราคาที่เป็นธรรม สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมกันระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ดีขึ้น
.
จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชม Patom Organic Farm เพื่อให้เห็นภาพการทำเกษตรอินทรีย์ชัดเจนยิ่งขึ้น ชมวิถีการดำนา การสีข้าวและฝัดข้าวแบบโบราณ เรียนรู้วิธีการทำสมุนไพรไล่แมลง การทำน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน รวมถึงการจัดการขยะโดยการนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์
.
ในช่วงบ่าย นิสิตได้ร่วมกิจกรรม workshop ทำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก เช่น ยาดมสมุนไพร น้ำมันนวดอโรม่า สครับข้าวออร์แกนิก และเยี่ยมชมตลาดสุขใจ สถานที่จำหน่ายสินค้าของกลุ่มเกษตรกรที่ร่วมกับสามพรานโมเดล สามารถอุดหนุนสินค้าจากเกษตรกรโดยตรง ถือเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและช่วยขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์

กิจกรรมปฐมนิเทศนิสิตใหม่ – Young Executive 31/1,English Program#19และRegular #43

หลักสูตร MBA Chula จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนิสิตใหม่ – Young Executive 31/1 , MBA English Program # 19 และ Regular 43

เพื่อต้อนรับนิสิตใหม่ ที่เข้าศึกษาในภาคต้น ปีการศึกษา 2567 โดยจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคี การทำงานเป็นทีม เพื่อเตรียมความพร้อมให้นิสิตก่อนเข้าศึกษาในหลักสูตร ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 15 – 16 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา

MBA Chula organized orientation activities for new students in MBA Young Executive 31/1,English Program 19 and MBA Regular # 43
To welcome our new students in academic year 2024, we organizing activities to build relationships, unity and teamwork. Our goal is to prepare students for their journeys in our programs. Ravindra Beach Resort and Spa Hotel, Chonburi Province, Thailand, On 15-16 June, 2024.

#MBAChula#MBA#CBS#MBAEnglish #MBAYoungExec #MBARegular

MBA Global Business Experience : Kyoto , Japan.

นิสิต MBA Chula ได้เดินทางมาศึกษาดูงาน ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้าง Global Business Experience ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักสูตร MBA Young Executive รุ่น 30/1 ตั้งแต่วันที่ 4-6 มิถุนายน 2567
สำหรับช่วงเช้าวันแรกของการทัศนศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ได้รับเกียรติจาก Prof. Kobayashi กล่าวต้อนรับคณะอาจารย์และนิสิต ซึ่งได้กล่าวย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจที่เข้าสู่ยุคดิจิตัล ซึ่งกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่ทุกอุตสาหกรรม รวมไปถึงธุรกิจในเกียวโตที่เป็นธุรกิจดั้งเดิมที่อยู่บนพื้นฐานของทุนทางวัฒนธรรม จึงเป็นโจทย์สำคัญของทุกภาคส่วนที่จะต้องคิดหาโมเดลทางธุรกิจที่ประสานความดั้งเดิมทางวัฒนธรรมให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยุคใหม่ที่มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น
จากนั้นกลุ่มนิสิตได้ฟังบรรยายจาก Prof. Maegawa เรื่อง Traditional company in Kyoto ในมุมมองด้านธุรกิจและวัฒนธรรมที่มีจุดเด่นทั้งในด้านฝีมือและคุณภาพ ควบคู่ไปกับการรักษาความสัมพันธ์กับชุมชน ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบการทำธุรกิจแบบ Win-Win-Win ที่ทั้งผู้ขาย ผู้ซื้อ และสังคม ได้ประโยชน์ร่วมกัน ทำให้ผลิตภัณฑ์หรือการบริการของเกียวโตนั้นมีความแตกต่างจากเมืองอื่นในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงประเทศอื่นในระดับโลก และลอกเลียนแบบได้ยาก
นอกจากนี้ Prof. Maekawa ยังได้อธิบายอีกว่าการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจตามยุคสมัยได้ทำให้ธุรกิจในเกียวโตต้องมีการปรับตัวที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีอายุเกิน 100 ปี (Shinise) ที่มีจำนวนมากในเมืองเกียวโต โดยธุรกิจเหล่านี้ต้องมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงต้องพยายามเรียนรู้การปรับใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ ในธุรกิจ ซึ่งล้วนส่งผลทำให้ธุรกิจในเกียวโตสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงและมีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน “small market size, but longer life“
ในช่วงบ่าย นิสิตหลักสูตร MBA Young Executive รุ่น 30/1 ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมบริษัท Eirakuya ซึ่งเป็นธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าประเภทผ้า เป็น family business ที่มีการสืบทอดมานานกว่า 400 ปีในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันบริหารและดำเนินการโดยรุ่นที่ 14
ในช่วงแรกของการเยี่ยมชม ท่านประธานบริษัทรุ่นที่ 14 คุณ Ihee Hosotsuji ได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของบริษัท กระบวนการทำผ้า รวมถึงแสดงตัวอย่างผลงานผ้าแบบต่างๆ และได้แบ่งปันมุมมอง mindset ในการประกอบธุรกิจครอบครัว(family business) ที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของการบริหารงาน และการดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อคู่ค้า ลูกค้า และสังคมโดยรอบ โดยท่านประธานได้ชี้ให้เห็นว่า การอยู่รอดของธุรกิจในแต่ละช่วงวิกฤตการณ์ของบริษัทตลอด 400 ปีที่ผ่านมา คือ การเข้าใจถึงข้อจำกัดที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วพยายามมองหาวิธีการในการจัดการกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น
ในปัจจุบันทางบริษัทได้พยายามปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แบบดั้งเดิมให้เข้ากับยุคสมัยใหม่มากขึ้น การสร้างความร่วมมือกับแบรนด์ดังระดับโลก การสร้างเรื่องราวให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดการบอกต่อ (caption) และเปลี่ยนมุมมองของการบริโภคจากการบริโภคสินค้าเป็นการบริโภควัฒนธรรม อีกทั้ง ยังได้ขยายแบรนด์ชื่อว่า Diaghilev & Maré เพื่อเข้าถึงกลุ่มตลาดยุโรปมากยิ่งขึ้น
หลังจากจบการบรรยาย เหล่านิสิตได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ HOSOTSUJI IHEE โดยภายในมีการจัดแสดงสินค้า ตัวอย่างผลงานของ eirakuya ต่างๆมากมาย

ในช่วงเช้าในวันที่ 2 ของการดูงาน นิสิตได้เข้ารับฟังการบรรยายที่ Kyoto University ในหัวข้อ Japanese Business Leadership จาก Professor Shige Makino
เนื้อหาการเรียนในครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการอภิปรายถึง Japanease Business Model ซึ่ง Prof. Makino ได้ชี้ให้เห็น ถึง 2 Requirements for leader ที่ได้แก่ Decisiveness หรือความสามารถในการตัดสินใจที่ถูกต้อง และ Execution หรือการดำเนินการเพื่อให้งานเสร็จไปไดด้วยดี โดยผู้นำของญี่ปุ่นมีจุดเด่นด้านการ Execution ในขณะที่ผู้นำจากทางโลกตะวันตกจะมีแนวโน้มโดดเด่นในด้าน Decisiveness
นอกจากนี้ ยังได้มีการเปรียบเทียบให้เห็นถึงรูปแบบของการสร้างนวัตกรรม ที่ผู้นำในโลกตะวันตกมักมุ่งเน้นในการทำสิ่งที่แตกต่าง (Do different) ในขณะที่ผู้นำของญี่ปุ่นมักมุ่งเน้นไปในการทำของเดิมให้ดีขึ้น (Do better)
การบรรยายในครั้งนี้ นิสิตได้ร่วมอภิปรายเปรียบเทียบลักษณะ Leader ที่แบ่งออกเป็น Type A (American), Type J (Japanese), Type C (Chinese) และ Type T (Thailand) ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนหารือลักษณะของผู้นำคนไทยว่าเหมือนหรือแตกต่างกับชาติอื่นๆ อย่างไร
อีกทั้ง เพื่อชี้ให้เห็นถึงบทบาทของผู้นำลักษณะต่าง ๆ กับความสำเร็จของบริษัท ในช่วงท้ายของการบรรยายอาจารย์ได้ยกตัวอย่างบริษัทและผู้นำที่ทำแล้วล้มเหลว พร้อมวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้บริษัทล้มเหลว และปิดท้ายด้วยตัวอย่างบริษัทในญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จด้วยความสามารถของผู้นำ เพื่อถ่ายทอดแนวคิดการบริหารงานที่ดีให้นิสิตสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้ในอนาคต 
ส่วนในช่วงบ่าย คณะนิสิตได้เดินทางได้เข้าเยี่ยมชมวัดไดโกจิ (Daigoji Temple) ซึ่งเป็นซึ่งหนึ่งในวัดสำคัญในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวัดพุทธนิกายชินงอน (Shingon) ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 874 และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกกับ UNESCO เมื่อปี ค.ศ. 1994
เนื่องจากวัดมีอายุกว่า 1,200 ปี และมีวัตถุโบราณทำให้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการดูแลบูรณะอยู่ตลอดเวลา ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ทางวัด ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยเกียวโตและภาคเอกชน ในการเข้ามาช่วยวางแผนการบริหารจัดการวัด โดยมุ่งเป้าหมายหลักที่ต้องการสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีอยู่ไปพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคมยุคใหม่ เพื่อให้วัดสามารถอยู่คู่กับสังคมได้อย่างยั่งยืน
ปัญหาที่พบ คือ แม้ว่าทางวัดจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แต่กลับมีนักท่องเที่ยวไม่มากนัก สาเหตุมาจากสถานที่ตั้งที่แยกตัวอยู่ห่างจากแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอื่น ๆ ในเกียวโต ทางผู้บริหารและทีมที่ปรึกษาได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมุ่งเป้าหมายให้วัดไดโกจิเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีการวางแผนพัฒนาวัดและพื้นที่ใกล้เคียงให้เติบโตคู่กันไปอย่างยั่งยืน โดยมีการวางแผนระยะสั้น-กลาง-ยาว เพื่อให้วัดสามารถเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มาพร้อมกับความเชื่อของผู้ที่มาเยี่ยมชมได้อย่างไร้รอยต่อ และทำให้ผู้ที่เดินทางมาที่วัดได้พบความสงบสุขในจิตใจ
โดยมีกระบวนการทำงานเริ่มต้นจากการพัฒนารากฐานที่สำคัญ คือ การสร้างให้บุคลากรและระบบโครงสร้างองค์กรภายในให้แข็งแกร่ง ซึ่งจะนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน ต่อมาจึงจะสามารถสร้างการรับรู้ (awareness) ให้เป็นที่รู้จัก โดยมีการออกแบบหลักการทำงาน พร้อมกำหนดเป็น KPI ที่นำมาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
การดูงานครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่ยังเป็นโอกาสในการเรียนรู้กลยุทธ์การปรับตัวและการบริหารจัดการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
ในช่วงเช้าวันที่ 3 ของการดูงานสำหรับนิสิต Young Executive รุ่นที่ 30/1 คณะดูงานได้เดินทางจากเกียวโตมายังเมืองโอซาก้า เพื่อศึกษาการจัดการ Walking Street Doguyasuji หรือชื่อเต็ม คือ Sennichimae Doguya-suji Shotengai ซึ่งเป็นย่านการค้าที่เต็มไปด้วยร้านขายอุปกรณ์ทำอาหาร เครื่องครัว และได้รับการขนานนามว่าเป็น “ครัวของประเทศ” ซึ่งเป็นที่ๆ พ่อครัวมือโปรต่างก็ต้องมาซื้ออุปกรณ์ที่ย่านนี้
ตรงหน้าปากทางเข้าถนนการค้า Doguyasuji มีอาคารคลาสสิกอยู่แห่งหนึ่งชื่อ Namba Grand Kagetsu อาคารแห่งนี้คือโรงละครสำหรับการแสดงตลก Prof. Maekawa ที่เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกียวโต และเป็นผู้ดูแลพวกเราในทริปนี้ได้บอกกับเราว่าที่ญี่ปุ่นโดยเฉพาะที่โอซาก้านี้กิจการตลกเฟื่องฟูมาก บรรดาดาราตลกชั้นนำของญี่ปุ่นส่วนใหญ่มาจากโอซาก้า
หลังจากนั้นเราได้พบกับเจ้าของกิจการร้านค้ามีด คุณ Ryo Tanaka President จากร้าน Sakai Ichimonji Mitsuhide ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจและพาพวกเราเยี่ยมชมร้าน Sakai Ichimonji ทำให้เราได้เห็นการดำเนินธุรกิจที่ยาวนานสืบทอดมากว่า 70 ปีจนถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 3 ซึ่งเดิมมี Business Model เป็นการขายที่ให้บริการหลังการขาย ทำให้ลูกค้าเกิดการบอกต่อกันเองและได้ลูกค้ารายใหม่มา และยิ่งได้รับ Feedback กลับมา ก็จะสามารถปรับสินค้าให้เข้ากับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพเศรษฐกิจ ผู้คนหรือวัฒนธรรม ส่งผลให้ทางร้านต้องปรับเปลี่ยน Business Model ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยนอกจากการพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังต้องส่งเสริมการสื่อสารในเชิงวัฒนธรรมให้ลูกค้าได้รู้จักด้วย ซึ่งจะทำให้การบริโภคไม่ได้จบลงที่สินค้า หากแต่รวมถึงการบริโภควัฒนธรรมอีกด้วย โดยหนึ่งในความพยายามที่ทำ คือ การสร้างสถานที่ให้บริษัทและหน่วยงานต่างๆ ได้มาพูดคุยทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางความคิดกันที่ชั้น 2 ของร้าน โดยสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูงานครั้งนี้ คือ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญคือ การพยายามคิดหาว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

สำหรับช่วงบ่ายซึ่งเป็น Session สุดท้ายของการดูงานภายใต้รายวิชา Global Business Experience ของหลักสูตร MBA Young Executive 30/1 พวกเราได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ Osaka Prefectural International Conference Center และได้รับเกียรติจาก Prof. Takeo Mori ในการบรรยายภายใต้หัวข้อ “Towards Osaka World Expo” โดย World Expo นั้นมีกำหนดการที่จะจัดขึ้นในปี 2025 ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
การจัด World Expo ในครั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นต้องการสร้างความแตกต่าง โดยได้คิด Concept “People Living’s Lab” เพื่อสะท้อนถึงชีวิต และการเปลี่ยนแปลงไปของยุคสมัย ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดที่ไม่เคยมีใน World Expo โดย Prof. Mori เป็นหนึ่งในผู้รับผิดชอบการจัดการ Pavilion และได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการโครงการฯ ไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมของวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน การตั้งราคา การจัดสรรเวลา การแบ่งทีมบริหาร การเดินทาง รวมถึงการเลือกตำแหน่งที่ตั้งเพื่อให้เป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในประเทศ
อย่างไรก็ตามด้วยระยะเวลาที่กระชั้นชิดของการจัดงาน World Expo ทำให้ปัจจุบันผู้จัดงานประสบปัญหาหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนทรัพยากรแรงงาน การนำส่งรูปแบบการออกแบบทางวิศวกรรมของผู้เข้าร่วมงาน โดยทางผู้จัดงานอยู่ระหว่างการจัดการเพื่อเร่งรัดการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถจัดงานได้ทันในเวลาที่กำหนด
ทั้งนี้ Prof. Mori ได้ให้แง่คิดจากเหตุการณ์ดังกล่าวว่าการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จะต้องมีผู้นำที่คอยตัดสินใจอย่างเด็ดขาด และจะต้องวางแผนให้ชัดเจน คำนึงถึงส่วนรวม รวมถึงทุ่มเทแรงกาย แรงใจเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงพอใจสูงสุด

MBA English Program Global Experience “Leading Family Business”

NAGOYA June 2024 MBA Global Experience “Leading Family Business”

As part of the global business immersion program, this year we brought the MBA students (English program) to Nagoya, Japan.
On Day 1, we visited the SCMaglev and Railway Park, a railway museum operated by JR Central. The students learned about the history and innovation of Japan’s high-speed train system and its impact on the Japanese economy and society. The development of Japan’s railway system has been a cornerstone of the country’s economic success, influencing various aspects of business, urbanization, labor mobility, technology, tourism, and environmental sustainability.
The museum visit included interactive exhibits and simulators, allowing students to experience the technological marvels of the Shinkansen and the SCMaglev trains firsthand. These immersive activities provided a deeper understanding of the engineering challenges and breakthroughs that have defined Japan’s rail industry. The students also had the opportunity to see historic train models and learn about the evolution of rail transport in Japan.
Additionally, the visit sparked discussions on the future of transportation and the potential for similar high-speed rail projects in other countries. Students reflected on how Japan’s success with its railway system could serve as a model for improving infrastructure and boosting economic growth globally. The experience highlighted the importance of innovation and investment in public transportation for sustainable development.
 
On the second day of our MBA (English program) study trip in Nagoya, focusing on Japanese family businesses, we started with a morning lecture followed by an afternoon company visit.
In the morning, we visited NUCB Business School, where Professor Yokoyama gave a lecture on the theoretical framework of family business studies. He explained several models involving family businesses, including the 4Cs Model, which emphasizes four key principles: Continuity, Community, Connection, and Command.
Continuity involves maintaining a long-term perspective and making investments to ensure the business’s longevity across generations. Community focuses on fostering good relationships with employees, creating a supportive and loyal workforce. Connection highlights building strong ties with the local community, partners, and customers, enhancing the business’s reputation and network. Lastly, Command underscores the value of independent decision-making, allowing family businesses to act swiftly and align their strategies with family values and goals.
In the afternoon, we visited Maruya Hatcho Miso Co. Ltd. in Okazaki, Aichi Prefecture, where we observed the theories studied in the morning applied to a real Japanese family business.
Hatcho miso has been made in the traditional way since long before the Edo period (1603-1868). The name literally translates to “eighth district,” indicating the facility’s location. Maruya is situated on the Tōkaidō road, historically used as a route from Kyoto to central Honshu before the Edo period.
President Nobutaro Asai explained that Hatcho miso uses only quality soybeans, natural salt, and pure water. The paste is mixed with koji and matured in authentic wooden kegs for over two years, resulting in the deep, aromatic, and cheesy taste characteristic of Nagoya cuisine, such as fried pork cutlet with miso sauce (miso katsu) and miso udon (nikomi udon).
President Asai shared that the secret behind Maruya’s longevity is its people (and microbes!). Maruya treats people and microbes gently, ensuring they are well taken care of. This focus on community is the source of Maruya’s strength, continuing for more than 700 years and aligning with the 4Cs model.
 
On the third day of our MBA (English program) study trip in Nagoya, which focuses on Japanese family businesses, we began with morning discussions about family business case studies, followed by an afternoon session with a talk from the leader of a prominent family business.
In the morning, Prof. Yokoyama wrote family-business case studies specifically for the MBA program at Chula. Students engaged in lively discussions about case studies involving conflicts between the management team and the organization leader, who is from the founder’s family. We learned the importance of open communication and negotiation to avoid conflicts. Effective communication helps prevent unexpected issues. In addition, communication leads to discussions and the exchange of business ideas.
In the afternoon, we had the opportunity to learn from Mr. Seiya Kato, the fourth-generation leader of Okasan Securities. Okasan Securities was founded by Mr. Seiji Kato in the 1930s in Tsu, Mie Prefecture. Unlike other stockbrokers of the time, Okasan adopted a client-first approach, actively seeking out customers rather than waiting for them to visit. This approach, along with strategically locating in underserved areas, helped Okasan become one of Japan’s leading companies.
By 1990, Okasan had joined the ranks of the Sub 10, a group of smaller firms trailing the Big 4 (Nomura, Daiwa, Nikko, and Yamaichi). Okasan’s conservative business model, focusing on client services and avoiding risky proprietary investments, enabled it to survive the 1990 stock market crash, which many competitors did not. Today, the Japanese securities industry is dominated by the Big 2 (Nomura and Daiwa), bank-affiliated firms (Mizuho, Mitsubishi UFJ, SMBC Nikko), and the Sub 2 (Okasan and Tokai Tokyo), with Okasan holding a significant position.
Mr. Seiya Kato discussed the company’s tradition, where the Kato family heir inherits the first kanji letter ‘Sei’ from the founder. He outlined his plans to transition Okasan from traditional securities brokerage and asset management to goal-based wealth management, emphasizing the role of trusted financial advisors in navigating the rapidly changing financial landscape. This session provided valuable insights into Okasan’s historical resilience, the role of founding family members, and future strategies in the financial industry.
 
On the final day of the MBA (English program) study trip in Nagoya, the discussion on family businesses in Japan continued through case studies. In the afternoon, a virtual company visit was conducted where students learned about various aspects and philosophies of many prominent family businesses in Japan.
During the morning class at Nagoya University of Commerce and Business (NUCB), Professor Yokoyama led a discussion on the challenges of family business succession. These challenges are particularly difficult to overcome because previous generations have established systems and practices, while the new generation faces market changes. The transition often involves balancing respect for traditional values with the need for innovation. The new leader must incorporate internal changes gradually to keep up with customer needs and maintain good relationships with employees through constant communication. Additionally, aligning the vision and strategies of different generations can be complex, requiring careful negotiation and collaboration to ensure the business remains competitive and cohesive.
In the afternoon, Professor Yokoyama highlighted several prominent family corporations in Japan, including Suzuki, Suntory, Nissin, Kikkoman, and Toyota. A key takeaway from the Toyota family philosophy is the principle of “one generation, one business (or industry).” This approach mandates that each generation must innovate and create something new to sustain company growth and diversify risk. By fostering an environment of continuous innovation and adaptation, these companies have managed to thrive across generations, contributing significantly to Japan’s economic landscape. This philosophy not only ensures the longevity of the business but also enables it to respond effectively to global market dynamics and evolving consumer preferences.

MBA Global Business Experience: Exploring “Business, Sustainability, and Innovation in Japan”

Tokyo June 2024 MBA Global Business Experience: Exploring “Business, Sustainability, and Innovation in Japan”
ในวันแรกหลักสูตร MBA Chula ได้พานิสิตเยี่ยมชมและเข้ารับฟังการบรรยาย ณ GLOBIS University
เริ่มต้นด้วยการต้อนรับจาก Professor Satoshi Hirose คณบดีของ GLOBIS University Professor Satoshi ได้แบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับ CEO ของบริษัทชั้นนำในญี่ปุ่น โดยเน้นถึงการค้นหา “Guiding Principles” ซึ่งเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจในด้านต่างๆ ของผู้นำ เช่น Centralization vs. Decentralization, Mass vs. Segmentation หรือ Speed vs. Safety ดังนั้นสิ่งที่สำคัญสำหรับนิสิตคือการค้นหาและระบุ “คำสำคัญในชีวิต” เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นผู้นำในอนาคต
คณาจารย์และนิสิตได้ฟังการบรรยายและร่วมอภิปรายเรื่อง Introduction to Japanese Econony and Culture โดย Professor Kelvin Song ซึ่งได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นว่า ประเทศญี่ปุ่นมีการเผชิญหน้าความท้าทายต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจและสังคม ล้ำหน้ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น Flat Economy, Aging Population และ Solo Society ใน Session นี้ นิสิตได้เรียนรู้หลักการที่ประเทศญี่ปุ่นใช้ เช่น Structural Reforms เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนใหม่ในการทำงานและความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
ช่วงบ่าย Professor Jake Pratley ได้บรรยายและให้นิสิตร่วมอภิปรายปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคของ Godiva Japan ในการปรับตัวจากธุรกิจขายช็อกโกแลตพรีเมียม (Aspiration) สำหรับเป็นของฝากในโอกาสพิเศษ ให้เข้าถึงง่ายมากขึ้น (Accessibility) โดยการเพิ่มสินค้าและช่องทางการตลาดต่างๆ พร้อมทั้งต้องรักษาความเป็นแบรนด์พรีเมียมไว้อีกด้วย Guiding Principles ที่ Godiva Japan ใช้ คือ มุ่งเน้นการสร้าง Right Form ของสินค้า ประสบการณ์ในร้าน กลยุทธ์การโฆษณา และช่องทางการจัดจำหน่าย สำหรับ Session นี้ นิสิตได้เพิ่มพูนความเข้าใจในบริบทธุรกิจญี่ปุ่น และเรียนรู้แนวคิดที่น่าสนใจของบริบทประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมในบริบทอื่นได้
ในวันที่สอง นิสิตและคณาจารย์หลักสูตร MBA เข้าเยี่ยมชมโรงงานแยกขยะของ Ishizaka Sangyo ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้าน Industrial Waste Management ของประเทศญี่ปุ่น
เริ่มต้นด้วยการรับฟังการบรรยายเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มาพร้อมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของญี่ปุ่นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่ง Ishizaka เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ของญี่ปุ่นที่ตระหนักถึงปัญหานี้และได้ดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG
ในด้าน Environment ทางบริษัทเปลี่ยนสิ่งของเหลือทิ้งให้กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่า สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ สำหรับด้าน Society บริษัทใส่ใจสังคมและชุมชนในการดำเนินธุรกิจ และส่วน Governance บริษัทได้ใช้กลยุทธ์ในการจัดการเพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์จากธุรกิจที่มีภาพลักษณ์ติดลบเป็นธุรกิจที่ผู้คนในชุมชนยอมรับ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล
จากนั้นไปเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงงานแยกขยะ ซึ่งสามารถนำขยะกลับมาใช้เป็นทรัพยากรที่มีค่าได้ถึง 98% โดยไร้ซึ่งการเผาขยะ และใช้พลังงานทางเลือก 100% รวมทั้งเยี่ยมชม Satoyama Farm ระบบนิเวศน์และเกษตรกรรมตามแนวทาง Sustainable Farm เพื่อเป็นตัวอย่างให้สังคมก้าวผ่านสู่ยุคแห่งการบริโภคอย่างมีจริยธรรม
ช่วงอาหารกลางวัน Ishizaka ได้เตรียม Bento Box ที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์ Organic จากใน Satoyama Farm เช่น ไข่สด Organic จากแม่ไก่และผักสดในฟาร์ม นอกจากอิ่มอร่อยกับอาหารแล้ว นิสิตยังได้มีโอกาสฝึกทักษะการแยกขยะจากสิ่งที่เหลือหลังรับประทานอาหาร
ในช่วงบ่ายนิสิตได้ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน และการเยี่ยมชมโรงงานและ Satoyama Farm ทั้งนี้นิสิตได้เปรียบเทียบ Business Model ของธุรกิจรีไซเคิลและฟาร์มเพื่อสิ่งแวดล้อม ของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย กิจกรรมวันนี้ช่วยจุดประกายให้นิสิตในฐานะผู้นำรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม สังคม และปัญหาความท้าทายต่างๆ ที่โลกกำลังเผชิญ ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความยั่งยืน
💚Happy World Environment Day 💚
ในวันสุดท้าย ช่วงเช้านิสิตได้รับฟังการบรรยายเรื่อง Social Issues in Japan และ KIBOW Impact Investment Fund ซึ่ง GLOBIS University ให้การสนับสนุนแก่ Social Entrepreneurs โดย Professor Suzuka Kobayakawa และร่วมอภิปรายประเด็นปัญหาทางสังคมต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น
Professor Suzuka ได้แบ่งปันประสบการณ์ที่ KIBOW ได้สนับสนุนธุรกิจเพื่อสังคม ผ่าน Stakeholders’ Map โดยเริ่มจากการระบุถึง Stakeholders ที่เกี่ยวข้องในประเด็นสังคมนั้นๆ และ Resources ต่างๆ ที่จำเป็นที่ KIBOW ใช้ เช่น ความรู้ด้านการลงทุน การสร้าง Awareness และ Credibility เพื่อสนับสนุนการสร้างธุรกิจที่แก้ปัญหาสังคมนั้น ในการนี้ KIBOW เชื่อม Stakeholders ทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นนั้นๆ ใน Session นี้นิสิตได้ร่วมกันหารือถึงปัญหาทางสังคมในประเทศไทย พร้อมทั้งระบุ Stakeholders ที่เกี่ยวข้อง และ Resources ที่จำเป็นสำหรับแก้ปัญหาเหล่านั้น เพื่อสร้างธุรกิจเพื่อสังคม
ในช่วงบ่ายคณาจารย์และนิสิตได้เดินทางไป Shibuya เพื่อเยี่ยมชม D&Department ซึ่งเป็นธุรกิจที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์วัฒนธรรม โดยใช้แนวคิด Long Life Design ที่ให้ความสำคัญเรื่อง “เวลา” เน้นความทนทานและการออกแบบที่ยั่งยืน
“d47” เป็นโครงการหนึ่ง ซึ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนงานฝีมือและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากแต่ละจังหวัดในญี่ปุ่น นอกจากนี้ D&Department ยังมีโครงการเพื่อชุมชน เช่น “D Mart 47” ที่เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอสินค้าคุณภาพสูงจากทุกจังหวัด หรือโครงการนำของเหลือใช้มาประกอบกันเป็นสินค้าใหม่
การทำธุรกิจของ D&Department สะท้อนถึงความงดงามของการออกแบบข้ามกาลเวลาทำให้สินค้ามีคุณค่ามากขึ้น ใน Session นี้นิสิตได้เรียนรู้หลักการออกแบบเพื่อสร้างธุรกิจเพื่อสังคมที่สร้างสรรค์
 

นักศึกษาจาก Singapore Management University (SMU) เข้าเยี่ยมชมคณะและจัดกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์กับนิสิต MBA CHULA

MBA Chula ต้อนรับการดูงานภายในประเทศไทยของ SMU

เมื่อวันที่ 21 และ 23 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา MBA Chula ได้ต้อนรับคณะคณาจารย์และนักศึกษาจาก Singapore Management University (SMU) โดย รศ. ดร.คณิสร์ แสงโชติ ประธานหลักสูตรฯ ได้ให้เกียรติมาบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เยี่ยมชมเกี่ยวกับความเหมือนและความต่างของระบบเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศไทยและสิงคโปร์ เพื่อชี้ให้เห็นโอกาสและข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจระหว่างทั้งประเทศ

นอกจากนี้ ในช่วงเย็นของทั้งสองวัน ยังได้มีการจัดกิจกรรม Networking Dinner เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตและนักศึกษาของทั้ง MBA Chula และ SMU อีกด้วย

#MBAChula#CBS#ChulalongkornBusinessSchool#SMU#SingaporeManagementUniversity

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save