Skip to main content

MBA Young Exec Global Business Trip at Hiroshima

Day 1 Global Business Experience 🌏 หลักสูตร Y-Ex MBA31/1 วันที่ 2 มิถุนายน 2568 ณ Hiroshima Peace Memorial Park and Musuem 🕊️
▫️ถอดบทเรียนจากบาดแผลทางประวัติศาสตร์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มจากการเดินชมจุดสำคัญต่างๆรอบ Hiroshima Peace Memorial Park ซึ่งนำโดยอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นที่ตั้งใจให้ข้อมูลอย่างลึกทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นในการฟื้นฟูเมืองฮิโรชิมาหลังเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณู รวมถึงประสบการณ์ทางอ้อมที่คนญี่ปุ่นและอาสาสมัครได้พบเจอมา🇯🇵
▫️ได้เข้าชมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สันติภาพฮิโรชิมา (Hiroshima Peace Memorial Museum) ซึ่งจัดแสดงภาพ วิดิโอและสิ่งของของเมือง Hiroshima ตั้งแต่ก่อนและหลังเกิดเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณู ความเจ็บปวด บาดแผล ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนเมืองฮิโรชิมา และการดำเนินชีวิตของคนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหวัง และความเข้มแข็งของมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่ความมุ่งหวังในการสร้างสันติภาพให้แก่ทุกคนบนโลก 🕊️ และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก
▫️การศึกษาดูงานครั้งนี้ไม่เพียงแค่เปิดมุมมองทางวิชาการ แต่ยังเติมเต็มจิตสำนึกของความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้ง และได้เรียนรู้ว่าสงครามไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับฝ่ายใด ทิ้งไว้แต่เพียงความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้
▫️ขอบคุณ Hiroshima Peace Memorial Park, Hiroshima Peace Memorial Musuem และอาสาสมัครทุกท่านที่ให้การต้อนรับและถ่ายทอดเรื่องราวด้วยหัวใจ 🤍
Day 2 Global Business Experience 🌏 หลักสูตร Y-Ex MBA31/1 วันที่ 3 มิถุนายน 2568 (Morning Session) ณ บริษัท Otafuku Sauce
คณะนิสิต หลักสูตร Y-Ex MBA รุ่น 31/1 ได้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ Wood Egg ของบริษัท Otafuku Sauce ณ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น 🇯🇵วันที่ 3 มิถุนายน 2568 เพื่อเรียนรู้แนวคิดการบริหารธุรกิจญี่ปุ่นอายุกว่า 100 ปี ซึ่งเติบโตจากรากฐานท้องถิ่นและปรับตัวต่อเนื่องตามบริบทสังคมและเศรษฐกิจ
นิสิตได้ศึกษาพัฒนาการของแบรนด์ พร้อมทำความเข้าใจบทบาทของเมนู Okonomiyaki ในฐานะวัฒนธรรมอาหารที่เชื่อมโยงผู้คนในสังคม ผ่านการจำลองร้านค้าและวิถีชีวิตชาวฮิโรชิมาในอดีต
จากนั้น นิสิตได้รับฟังการบรรยายจากคุณ Yasutaka Oouchi ตำแหน่ง Executive Officer(Deputy of General Manager of the Co-Creation Division) ถึงกลยุทธ์การตลาดภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมการกินผ่าน Word of Mouth การขยายฐานผู้บริโภคไปยังภูมิภาคที่ไม่คุ้นเคยกับเมนูนี้ และแนวคิดการจัดตั้ง “Okonomiyaki Team” เพื่อสื่อสารคุณค่าทางวัฒนธรรมของอาหารสู่สังคมและองค์กร
ต่อมาได้นำเสนอแนวทางการขยายตลาดสู่ประเทศไทย 🇹🇭พร้อมอธิบายข้อจำกัดและกลยุทธ์การปรับตัวให้สอดคล้องกับผู้บริโภคไทย ทั้งในด้านการสื่อสารแบรนด์และช่องทางจัดจำหน่าย
ในช่วงท้าย นิสิตได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านกลยุทธ์การตลาด พร้อมซักถามถึงแนวคิดธุรกิจที่สืบทอดจากผู้ก่อตั้ง ตลอดจนความท้าทายทางสังคมของญี่ปุ่นในปัจจุบัน อาทิ สังคมสูงวัยและการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งส่งผลต่อทั้งการผลิตและการวางแผนธุรกิจในอนาคต
การเยี่ยมชมครั้งนี้เปิดมุมมองสู่การทำธุรกิจอย่างมีเป้าหมายที่แท้จริง ไม่เพียงตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจ แต่ยังมุ่งสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรม ส่งต่อความสุขผ่านอาหาร และสร้างแรงบันดาลใจให้ธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในระยะยาว
นิสิต MBA ได้มีโอกาสเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของบริษัท Mazda ซึ่งเป็นบริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น 🇯🇵 ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมามากกว่า 100 ปี โดยมี Miku-san เป็นผู้บรรยายในการเข้าชมในวันนี้
บริษัท Mazda ก่อตั้งโดยคุณ Jujiro Matsuda ในปี 1920 เดิมใช้ชื่อว่าบริษัท Toyo Cork Kogyo พัฒนาจากโรงงานผลิตไม้ Cork ก่อนจะเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยการเปิดตัว “Mazda-Go” รถสามล้อบรรทุกเครื่องยนต์รุ่นแรกในปี 1931 🛻 ซึ่งในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงรถยนต์ 4 ที่นั่งรุ่นแรกของ Mazda ในปี 1960 รวมถึงมีการแสดงนวัตกรรมเครื่องยนต์แบบ Rotary ของ Mazda ที่สร้างชื่อเสียงระดับโลก ด้วยการออกแบบที่แตกต่างจากเครื่องยนต์ทั่วไปและ นอกจากนี้ในพิพิธภัณฑ์ยังแสดงการผสมผสานเทคโนโลยีและปรัชญาการออกแบบผ่านแนวคิด “Jinba Ittai” (ผู้ขับและรถเป็นหนึ่งเดียวกัน) และ “KODO – Soul of Motion” ที่ผสมผสานและถ่ายทอดความรู้สึกของการเคลื่อนไหวลงบนพื้นผิวของรถยนต์ 💡
อีกทั้งยังมีการจัดแสดงเทคโนโลยี “SKYACTIV” 🩵 ที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพในการขับขี่ น้ำหนักเบา ประหยัดน้ำมัน แต่ไม่ลดสมรรถนะ โดยในพิพิธภัณฑ์ยังมีการจัดโซนแสดงรถยนต์รุ่นปัจจุบันพร้อมทั้งอธิบายการออกแบบภายในและเทคโนโลยีต่าง ๆ นอกจากนี้คณะนิสิตยังมีโอกาสได้รับชมส่วนหนึ่งของสายการผลิตรถยนต์ Mazda ของจริงภายในโรงงานอีกด้วย ✨
ในส่วนท้ายของพิพิธภัณฑ์ Mazda ยังมีการจัดแสดงการออกแบบรถยนต์ต้นแบบ (Prototype) สุดล้ำที่สะท้อนวิสัยทัศน์ของ Mazda ในโลกอนาคต อย่างรถยนต์ต้นแบบ Mazda Vision Coupe ที่รวมเอาความงามแบบญี่ปุ่นผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อรองรับสังคมแห่งการเดินทางที่ปลอดภัยและยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในอนาคต 🚗🌱
✏️ บทเรียนสำคัญที่คณะนิสิตได้รับในวันนี้คือ จุดเริ่มต้นของวิสัยทัศน์ขององค์กรเกิดจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ซึ่งสะท้อนผ่านวัฒนธรรมขององค์กรที่นอกจากจะต้องแข็งแกร่งแล้ว องค์กรยังต้องคำนึงถึงสังคมโดยรวม โดยมีเป้าหมายที่แน่วแน่เพื่อทำให้บริษัทเติบโตควบคู่ไปพร้อมกันกับการพัฒนาสังคม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บริษัท Mazda เป็น 1 ในบริษัทที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมามากกว่า 100 ปี 💫
Day 3 Global Business Experience 🌏 หลักสูตร Y-Ex MBA31/1 วันที่ 4 มิถุนายน 2568 ณ Prefectural University of Hiroshima
Theme: International Business Management 🇯🇵
นิสิต MBA ได้มีโอกาสเรียนรู้จาก Prof. Dr. Norihiko Suzuki ซึ่งเป็น Chairman ดูแล Hiroshima Prefectural Public University
💬 Prof. Suzuki ได้ถ่ายทอดถึงกลยุทธ์ของบริษัทญี่ปุ่นในการเข้าตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจสำหรับนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ ดังนี้
•การเคลื่อนไหวของบริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations: MNSs) ที่เชื่อมโยงด้วยเครือข่ายทางธุรกิจ และมีการสื่อสารระหว่างกัน
•การเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดด้านการส่งออก ให้เป็นโอกาสใหม่ในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI)
• การลงทุนกับการศึกษา ซึ่งช่วยให้คนญี่ปุ่นมีความสามารถและพร้อมสำหรับการแข่งขันในตลาดโลก รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่
• การสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อช่วยให้ธุรกิจของญี่ปุ่นสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Theme: Fools learn from experience, wise man learn from history 🇯🇵
นิสิตได้มีโอกาสเรียนรู้จาก Prof. Dr. Seiichiro Yonekura ซึ่งเป็น Dean ของ Hiroshima Business and Management school
💬 Prof. Yonekura ได้เน้นความสำคัญของการเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ผ่าน 3 หัวข้อหลัก ดังนี้
•ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา และกรอบความคิด ที่ทำให้คนญี่ปุ่นมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด
•ความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ ในการช่วยสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาธุรกิจ
• ความสำคัญของการมีเพื่อนคู่คิด (Partner) ซึ่งช่วยให้คนญี่ปุ่นสามารถเดินไปข้างหน้าได้ไกลและมั่นคง “If you want to go fast, go alone but if you want to go far, go together”
Day 4 Global Business Experience 🌏 หลักสูตร Y-Ex MBA31 วันที่ 5 มิถุนายน 2568 ณ Osaka World Expo 2025
คณะนิสิต MBA มีโอกาสได้เข้าร่วมศึกษาดูงานที่ Osaka Expo 2025 ประเทศญี่ปุ่น : โลกอนาคตกำลังถูกออกแบบ และเรากำลังเป็นส่วนหนึ่งของโลกอนาคต
✨ Session ช่วงเช้า ได้รับเกียรติเข้าฟังบรรยายจากผู้อำนวยการจัดงาน Osaka Expo และช่วงบ่ายได้เข้าไปที่ Yumeshima Island ซึ่งเป็นเกาะเทียมที่ถูกพัฒนาเพื่อใช้จัดงาน Expo โดยเฉพาะ
🎡 ธีมหลักของ Expo คือ “Designing Future Society for Our Lives”
✈️ ภายในงานมีการจัดแสดง Pavilions จากประเทศต่างๆ เราได้เห็นว่าเทคโนโลยีไม่ได้มีไว้เพื่อโชว์ แต่คือ “เครื่องมือ” ที่ช่วยแก้ปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้สูงอายุด้วยหุ่นยนต์ AI, เมืองที่ผลิตพลังงานสะอาดด้วยตัวเอง, หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ใช้งานจริงแล้วในบางประเทศ 👏
✅ Highlight ที่ห้ามพลาด 🚀
📌ญี่ปุ่น 🇯🇵 โชว์นวัตกรรมระดับประเทศที่ใช้จริงแล้วในเมืองต่าง ๆ
📌UAE 🇦🇪 พาวิลเลียนธีม “Possible Realities” ที่ผสานเทคโนโลยี + จิตวิญญาณตะวันออกกลาง
📌สหรัฐฯ 🇺🇸 มุ่งเน้น AI, Sustainability และบทบาทของพลเมืองโลก
(และอีกกว่า 150 ประเทศ ที่จะมาแสดงวิสัยทัศน์อนาคตในแบบของตัวเอง)
📌 หลายสิ่งที่เคยอ่านในห้องเรียน MBA — กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ 🥹🥹
📌 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูงานครั้งนี้ ไม่ได้มีแค่เทคโนโลยี แต่คือ “Mindset” สิ่งที่น่าประทับใจที่สุดไม่ใช่เครื่องจักรล้ำยุค แต่คือ “แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบ“
💼✨ การได้มาเห็นโลกอนาคตจริง ๆ แบบนี้ ทำให้เข้าใจคำว่า “Global Perspective” มากขึ้นอีกขั้น แต่เรากำลังฝึกคิดเชิงระบบ ฝึกมองความเชื่อมโยงของธุรกิจกับสังคม สิ่งแวดล้อม และชีวิตมนุษย์
👭 ที่สำคัญที่สุด เราไม่ได้เรียนรู้คนเดียว
เรามีเพื่อนร่วมรุ่นจากหลายอาชีพ หลาย background ที่ช่วยกันต่อยอดความคิด แชร์มุมมอง และสร้างแรงบันดาลใจให้กันตลอดเวลา
🧠 สุดท้ายนี้ อยากฝากไว้ว่า…
หลักสูตร MBA ของ CBS Chula ไม่ได้สอนแค่ให้ทำธุรกิจ แต่ยังสอนให้เรา “เข้าใจโลก” และ “ออกแบบอนาคต” ในแบบของเราได้อีกด้วย

MBA English Program Class : Global Business Experience @Osaka

Our MBA Chula (English Program) students recently embarked on an enriching study trip to Kyoto and Osaka, Japan! This incredible experience was designed to give them firsthand insight into global business trends.
One of the highlights was a special lecture by Prof. Kiyoshi Kobayashi from Kyoto University on “People Centricity in AI-driven Worlds ” – the idea that even as AI advances, humanity remains at the core.
Prof. Kobayashi shared a powerful perspective: AI, specifically tools like ChatGPT, has established a new baseline for all industries and research. The critical task ahead is to find ways to differentiate ourselves beyond what AI can achieve. Beyond the technological insights, the lecture deeply reinforced the vital roles of Social Capital and the Well-being of people in our evolving AI landscape. These aren’t just buzzwords; they are the bedrock for sustainable growth. By fostering “democratic platforms” where everyone has an equal voice, we can significantly strengthen communities and enhance the overall quality of life.
In the afternoon, our journey led us to Mii-dera Temple in Shiga Prefecture, a site designated as one of Japan’s National Treasures. There, the head priest offered a compelling lecture on the profound importance of Buddhism, which has served as a foundational pillar of the country, deeply influencing Japanese culture and way of thinking for centuries.
He spoke of a dual world: the visible world, where people primarily focus on economics and rationality, and an invisible world, equally vital for navigating life. He noted that in our modern era, interest in or belief in religion is waning, a trend observable even in Japan. This means temples like Mii-dera face the considerable task of finding new ways to operate and preserve their rich heritage in an increasingly secular world.
This trip wasn’t just about lectures; it was about inspiring our students to think critically, innovate, and lead with a human-centered approach in an AI-powered world, all while gaining a deeper appreciation for both cutting-edge technology and timeless cultural wisdom.
Day 2: The Spirit of Japanese Management 🇯🇵
Today in Kyoto, we explored two powerful stories that exemplify how Japanese management blends tradition, innovation, and cultural preservation.
🍬 Morning Session: Shogoin Yatsuhashi
We were inspired by Ms. Kanako Suzuka, President of Shogoin Yatsuhashi, a renowned sweet maker established in 1689. She shared how the company stays true to its core philosophy—“Taste is Tradition”—while innovating through Nikiniki, a stylish brand designed for younger consumers. Her vision is to make these sweets a part of everyday life in Kyoto, not just occasional souvenirs.
Ms. Suzuka emphasized that the real challenge for Nikiniki lies in sustaining the brand. This demands ongoing creativity in both product development and presentation, including the release of seasonal products. She relies on word-of-mouth marketing, firmly believing that every product must meet the highest standards before reaching customers.
🏠 Afternoon Visit: Kyo-Machiya Townhouse
In the afternoon, we visited a Kyo-Machiya townhouse on Shinmachi Street, known as “Clear Sky Street” after overhead power lines were removed to preserve the scenic view for the Gion Festival. We were warmly welcomed by Ms. Fusae Kojima, homeowner and head of the Kyo-Machiya Rebirth Study Group, who shared her mission to preserve these historic townhouses, now decreasing in number across Kyoto.
Although rich in beauty and heritage, Machiya face challenges such as strict building regulations and high maintenance costs. Ms. Kojima highlighted the importance of community-driven initiatives, traditional craftsmanship, and finding a sustainable balance between tourism and everyday local life.
💡 From handcrafted sweets to historic homes, today’s experiences showcased how Japanese management values continuity, innovation, and social responsibility—while remaining deeply rooted in tradition.
MBA English Study Trip – Day 3: The Spirit of Japanese Management 🇯🇵
On the third day, we had the privilege of learning from Prof. Yoshikazu Maegawa, who offered deep insights into the unique business culture of Kyoto.
💡 Key Takeaways from the Lecture: “Business & Culture in Kyoto”
🧭 Kyoto – The Heart of Localism:
Kyoto truly embodies the “heart of localism,” where a “mild yankee economy” thrives. Forget chasing the lowest prices or highest quality – in Kyoto, it’s all about supporting local friends, family, and community ties.
🏯 Longevity Over Scale:
While global cities like Tokyo and Osaka chase growth and scale, Kyoto champions sustainability. Businesses may be smaller, but they often last centuries.
🏆 The Power of Shinise:
Japan boasts about 20,000 Shinise companies (businesses that over 100 years old), and Kyoto is a true hub, home to over 1,000 of them (3.6% of the national total!), specializing in everything from small manufacturing to traditional food and liquor. While Osaka has a similar number, Kyoto’s Shinise often represent a more intimate, locally-rooted business model.
💬 A thought-provoking day reminding us that success isn’t always about speed or scale—it can also be about staying power, values, and deep local roots.
MBA English Study Trip – Day 4: A Glimpse into the Future at Expo 2025 Osaka! 🚀
What an incredible day as we geared up for our visit to the future site of Expo 2025 in Osaka! Before heading out, we had the privilege of hearing from Professor Takeo Mori, who is deeply involved with the Union of Kansai Government and the Kansai Pavilion for the Expo. His insights into the preparations were truly mind-blowing!
Prof. Mori shared the vision behind Expo 2025: “Designing Future Society for Our Lives.” This powerful theme is broken down into three compelling subthemes: “Saving Lives,” “Empowering Lives,” and “Connecting Lives.” The entire concept is envisioned as a “People’s Living Lab” – a dynamic laboratory for a future society!
The driving idea behind all of this? To reconnect countries and foster unity amidst diversity, especially after the divisions felt during COVID-19. This spirit is beautifully symbolized by the awe-inspiring Grand Ring, one of the world’s largest wooden structures with an outer circumference of about 2KM – representing global connection!
Even the venue itself is a marvel: Yumeshima, a man-made island created from reclaimed waste, stands as a symbol of sustainable innovation and future-oriented thinking.
We’re so excited to witness the progress of this monumental event. It’s an incredible opportunity to witness how visionary ideas are brought to life!

MBA Class : Global Business Experience at Osaka

คณะนิสิตกลุ่ม MBA Young Executive รุ่นที่ 31/1 ได้เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อรับประสบการณ์การเรียนรู้จากการเรียนในคลาสวิชา “Global Business Experience”

ทริป Global Business Experience ครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก GLOBIS University หลักสูตร MBA อันดับ 1 ของญี่ปุ่น ร่วมเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตลอดระยะเวลาที่นิสิต MBA ของเราอยู่ที่โอซาก้า ระหว่างวันที่ 2 – 6 มิถุนายน 2568
📍 Day 1: Global Business Experience @ Osaka
Theme: Japanese Management and Sustainability 🇯🇵🌿
📚 เช้าวันแรกของคลาส นิสิตได้เรียนรู้ผ่านการบรรยายของ Prof. Jake Pratley จาก GLOBIS University ถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ตั้งแต่ยุครุ่งเรืองหลังสงครามโลก จนถึงภาวะชะลอตัวในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากทั้งปัจจัยระดับโลกและการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคมในประเทศ
👥 ญี่ปุ่นในปัจจุบันกำลังเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุ ครอบครัวขนาดเล็ก และอัตราคนโสดที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่คล้ายคลึงกับประเทศไทยในหลายมิติ นำไปสู่การปรับกลยุทธ์ของทั้งองค์กรขนาดใหญ่และธุรกิจท้องถิ่น เพื่อมองหา “โอกาสใหม่ในข้อจำกัด”
💡 Prof. Jake ยกตัวอย่างนวัตกรรมธุรกิจที่เกิดจากการตอบโจทย์สังคม เช่น:
• ร้านปิ้งย่าง/ราเมน/คาราโอเกะสำหรับคนเดียว
• ธุรกิจจัดงานศพแบบเฉพาะบุคคล
• รถไฟท่องเที่ยวสุดหรูระดับ 7 ดาว
• โรงเรียนติวเตอร์สำหรับผู้สูงวัย
• การนำหุ่นยนต์มาใช้แทนแรงงานมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
🧘‍♂️ นอกจากนี้ นิสิตยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ส่งผลต่อวิธีคิดทางธุรกิจ เช่น “Kyūdō” (Japanese Archery) ที่สะท้อนถึงสมาธิ ความแม่นยำ และความเคารพในกระบวนการ
📊 ปิดท้ายด้วยการวิเคราะห์กรณีศึกษาแบรนด์ Godiva ที่ต้องเผชิญความท้าทายจากพฤติกรรมผู้บริโภคญี่ปุ่นที่นิยมซื้อสินค้าตามฤดูกาล และการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ทำให้ต้องคิดกลยุทธ์ใหม่ในการเพิ่มยอดขาย
📸 ส่วนบรรยากาศการเรียนรู้และไอเดียกลยุทธ์ที่นิสิตแต่ละกลุ่มเสนอ… ขอให้ภาพเล่าเรื่องแทนคำพูดแล้วกัน 😉

ต่อมา ทางคณะนิสิต MBA ได้มีโอกาสเรียนรู้จาก Prof. Suzuka Kobayakawa จาก GLOBIS University ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานกับ United Nations Development Programme (UNDP) และเคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายประเทศ อาทิ เนปาล ไนจีเรีย และสหรัฐอเมริกา ประสบการณ์เหล่านี้จุดประกายให้เธอกลับมาพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศบ้านเกิดของตนเอง ประเทศญี่ปุ่น 🇯🇵

💬 Prof. Suzuka ถ่ายทอดถึงปัญหาสังคมที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญ เช่น
• ผู้สูงอายุในต่างจังหวัดที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ไม่มีโอกาสพูดคุยหรือพบเจอผู้อื่นเป็นเวลาหลายวัน
• ความท้าทายของผู้หญิงที่ต้องทำงานนอกบ้านพร้อมกับเลี้ยงดูครอบครัว และ
• ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น สึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งทำให้ชุมชนต้องรวมพลังกันสร้างสรรค์ธุรกิจที่ยั่งยืนและเกื้อหนุนสังคม
🤝 ในช่วงท้ายของคลาส นิสิต MBA ได้ร่วมวิเคราะห์กรณีศึกษา KIBOW Impact Investment Funds ซึ่งเป็นตัวอย่างจริงของ Social Entrepreneurship จาก GLOBIS University ที่เกิดขึ้นภายใต้ KIBOW Foundation ซึ่งเป็นโมเดลของการลงทุนเพื่อสังคมที่ส่งเสริมทั้งความยั่งยืนของธุรกิจและความเข้มแข็งของชุมชน โดยความสำเร็จของ KIBOW เกิดจากความร่วมมือของ stakeholder ทุกฝ่ายที่ต้องการทำสิ่งดีๆ เพื่อสังคม
✨ บทเรียนสำคัญที่ได้จากวันนี้คือ…
“You are more resourceful than you think.”
หวังว่าแรงบันดาลใจนี้จะผลักดันให้นิสิต MBA ของเราเป็นผู้ริเริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยต่อไป
🌱 เปิดโลกการรีไซเคิลกับ Panasonic Recycling Factory ประเทศญี่ปุ่น ♻️
ในวันที่สองของการเรียน นิสิต MBA ของเราได้รับโอกาสพิเศษในการเยี่ยมชม โรงงานรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของ Panasonic โรงงานแห่งเดียวในญี่ปุ่นที่ดำเนินงานภายใต้บริษัทผู้ผลิตโดยตรง!
🇯🇵 ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีมาตรการด้านการรีไซเคิลเข้มงวดที่สุดประเทศหนึ่งในโลก เนื่องจากพื้นที่จำกัดและความเสี่ยงจากโลหะหนักและสารพิษในเครื่องใช้ไฟฟ้า จึงมีกฎหมายที่กำหนดให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลัก เช่น ทีวี ตู้เย็น แอร์ และเครื่องซักผ้า ต้องถูกรีไซเคิลอย่างถูกต้อง โดย ผู้บริโภคมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมรีไซเคิลเมื่อมีการทิ้งหรือเปลี่ยนสินค้า ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้สามารถชำระผ่านร้านค้าที่รับคืนสินค้า หรือที่ทำการไปรษณีย์ร่วมกับระบบคูปองรีไซเคิลอย่างเป็นทางการของรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อให้การจัดการของเสียมีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้
👷‍♀️ ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ นิสิตได้เรียนรู้กระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การถอดแยกเครื่องซักผ้า ทีวี แอร์ และตู้เย็น โดยเริ่มจากแรงงานมนุษย์ ไปจนถึงการใช้ หุ่นยนต์และ AI ช่วยจัดการวัสดุอันตราย เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่มีสารปรอท หรือสารทำความเย็นจากคอมเพรสเซอร์
🔧 ทุกชิ้นส่วนจะถูกแยกตามประเภทวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก โลหะ หรือแผงวงจร ก่อนเข้าสู่กระบวนการบด ย่อย และแยกด้วยเทคโนโลยี เช่น แม่เหล็กและระบบแยกตามน้ำหนัก เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
🌍✨ กิจกรรมนี้ไม่เพียงแค่ให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังเปิดมุมมองใหม่เรื่อง “ความรับผิดชอบของธุรกิจและผู้บริโภคต่อทรัพยากรของโลก” ในเชิง ระบบคิดแบบยั่งยืน อย่างแท้จริง
ในช่วงบ่าย นิสิต MBA ของเราได้มีโอกาสพิเศษในการเยี่ยมชม Shirayuki Sake Brewery ของตระกูล Konishi ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานสาเกที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1550 และยังคงดำเนินกิจการโดยครอบครัวเดียวกันมายาวนานถึง 15 รุ่น
🏯 โรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองอิตามิ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการผลิตสาเกเพื่อส่งไปยังเมืองเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) โดยใช้การขนส่งทางเรือ ท่ามกลางความเสี่ยงของการเดินทางในอดีต แต่บรรพบุรุษของตระกูล Konishi สามารถปรับตัวและวางระบบธุรกิจเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างแยบยล
💬 ในการบรรยายของ ประธานบริษัทรุ่นที่ 15 Mr. Shinuemon Konishi ได้กล่าวถึงแนวทางการผสานระหว่าง ภูมิปัญญาดั้งเดิม และ นวัตกรรมยุคใหม่ เช่น การคงกระบวนการหมักแบบดั้งเดิมในบางขั้นตอน ร่วมกับการพัฒนาเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติ เพื่อตอบโจทย์ตลาดปัจจุบันที่ต้องการทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพ
🗣️ อีกหนึ่งแง่มุมสำคัญที่ประธานบริษัทเน้นย้ำคือ “การสื่อสาร” ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับลูกค้าในอดีตผ่านระบบขนส่ง หรือการสื่อสารกับผู้บริโภคในยุคใหม่ผ่านเทคโนโลยีและเรื่องราวของแบรนด์
🥂 ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการ ชิมสาเกหลากหลายชนิด ที่ผลิตด้วยวิธีดั้งเดิมและนวัตกรรมใหม่ รสชาติที่ซับซ้อนและเป็นเอกลักษณ์…น่าเสียดายที่เราไม่สามารถถ่ายทอดรสชาติผ่านภาพหรือคำบรรยายได้
วันที่สามของกิจกรรม นิสิต MBA ได้เรียนรู้วิสัยทัศน์ของงาน Expo 2025 Osaka จาก Prof. Takeo Mori ผู้มีบทบาทสำคัญในการออกแบบ Pavilion ของภูมิภาคคันไซ ภายใต้แนวคิดหลัก “Designing Future Society for Our Lives” ที่แบ่งออกเป็น 3 แกนสำคัญ:
💡 Saving Lives
💡 Empowering Lives
💡 Connecting Lives
✨ Expo ครั้งนี้ถูกออกแบบให้เป็น “People’s Living Lab” หรือห้องทดลองสำหรับอนาคตของมนุษยชาติ ที่จะเชื่อมโลกให้กลับมาใกล้ชิดกันอีกครั้ง หลังผ่านช่วงเวลาของความห่างเหินจาก COVID-19 โดยมี Grand Ring โครงสร้างไม้ขนาดยักษ์รอบเกาะยูเมะชิมะ เป็นสัญลักษณ์แห่งการเชื่อมโยงโลกทั้งใบ 🌍
🏝️ ไฮไลต์อีกอย่างคือสถานที่จัดงานบนเกาะยูเมะชิมะ ซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นจากวัสดุรีไซเคิล เป็นตัวอย่างของการออกแบบเพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง
🧭 หลังบรรยาย นิสิตได้เข้าเยี่ยมชม Pavilion ต่าง ๆ ของนานาชาติและองค์กรชั้นนำทั่วโลก ที่สะท้อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคตในมิติต่าง ๆ

คณะนิสิตจาก Globis University,Japan เข้ารับฟังบรรยายจากวิทยากรพิเศษจาก MBA CHULA

วันที่ 30 เมษายน 2568 ในวันนี้ กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการบรรยายหัวข้อ “ESG: ตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคมในประเทศไทย” โดย ดร.กนก (เคน) กาญจนภู ซึ่งได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนของสังคมไทย การบรรยายนี้ช่วยให้นิสิตและนักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมอย่างรอบด้าน
ในช่วงบ่าย นิสิตและนักศึกษาได้เข้าร่วมบรรยายหัวข้อ “The Secrets of Long-Living Companies: Navigating the Test of Time” โดย ผศ.ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จขององค์กรไทยที่สามารถเติบโตและอยู่รอดผ่านกาลเวลาอย่างยั่งยืน ทั้งในแง่การบริหารจัดการนวัตกรรม วัฒนธรรมองค์กร และการปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และในช่วงสุดท้ายของกิจกรรม ได้มีการกล่าวสรุปพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนของที่ระลึก ซึ่งนิสิต MBA Chula ได้จัดเตรียมมาให้นักศึกษาจากทาง GLOBIS University ด้วยตนเอง ก่อนจะรับใบประกาศนียบัตร และแยกย้ายกันเดินทางกลับ ถือเป็นอันปิดจบกิจกรรมการเยี่ยมชมจาก GLOBIS University เป็นเวลา 3 วันได้อย่างสมบูรณ์
On April 30, 2025, the day began with a lecture on “ESG as a Driver for Social Innovation in Thailand” by Dr. Kanok (Ken) Kanchanapoo. Drawing from his extensive experience, Dr. Kanok emphasized how environmental, social, and governance (ESG) principles can drive meaningful and sustainable innovation within Thai society. The session highlighted the importance of integrating ESG into business strategies for a better future.
In the afternoon, students participated in a lecture titled “The Secrets of Long-Living Companies: Navigating the Test of Time” by Asst. Prof. Dr. Kritinee Pongtanalert. The session explored key factors contributing to the enduring success of organizations, including innovation management, organizational culture, and adaptability in a rapidly changing world.
During the final part of the program, a closing summary was delivered, followed by a souvenir exchange, with gifts personally prepared by MBA Chula students for the visiting students from GLOBIS University. The event concluded with the presentation of certificates, after which participants departed for their respective destinations — marking a successful completion of the 3-day visit from GLOBIS University.

นักศึกษา GLOBIS University และนิสิต MBA Chula ศึกษาดูงานที่ “ตามมี บรรทัดทอง” เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของธุรกิจเพื่อสังคม

วันที่ 29 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา นักศึกษา GLOBIS University และนิสิต MBA Chula ได้ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานที่ “ตามมี บรรทัดทอง” ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด นำโดยคุณพิเชษฐ โตนิติวงศ์ ผู้จัดการทั่วไป โดยนิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมเสวนา ถือเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์สำคัญในการเชื่อมโยงแนวคิดการบริหารธุรกิจกับการพัฒนาสังคม
ช่วงบ่าย นิสิตนักศึกษาได้เยี่ยมชมและศึกษาดูงานที่ LEARN Corporation ณ อาคาร MBK Center โดยมีคุณธานินทร์ ทิมทอง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนทางสังคม ให้การต้อนรับและบรรยายเกี่ยวกับภารกิจขององค์กรในการส่งเสริมการศึกษาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย การเยี่ยมชมครั้งนี้ช่วยเปิดมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรที่เน้นความยั่งยืนและนวัตกรรมทางสังคม
On April 29, 2025, students from GLOBIS University and MBA Chula visited Tham-me Banthatthong, operated by Thamturakit Co., Ltd., led by Mr. Pichet Tonitiwong, General Manager. The visit offered students a firsthand experience of how social enterprises operate to drive sustainable community change. Through interactive discussions, participants gained meaningful insights into integrating business management with social development.
In the afternoon of April 29, 2025, participants visited LEARN Corporation at MBK Center, where Mr. Tanin Timtong, Co-Founder & Managing Director, warmly welcomed them. He shared insights into the organization’s mission to promote sustainable education in Thailand. The field visit broadened perspectives on managing organizations with a strong focus on sustainability and social innovation.

นักศึกษาจาก GLOBIS University ,ญี่ปุ่น ร่วมทำกิจกรรมและเรียนรู้ร่วมกับนิสิต MBA จุฬาฯ

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 นักศึกษาจาก GLOBIS University ประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาเยี่ยมชม พร้อมทั้งร่วมทำกิจกรรมและเรียนรู้ร่วมกับนิสิต MBA จุฬาฯ โดยโครงการนี้จะดำเนินไปจนถึงวันที่ 30 เมษายนนี้
ในช่วงเช้ากิจกรรมเริ่มต้นด้วยการฟังบรรยายในหัวข้อ “The Thai Economy and Sustainability” โดย รศ.ดร.คณิสร์ แสงโชติ ได้แนะนำภาพรวมเกี่ยวกับประเทศไทย เพื่อให้นักศึกษาจาก GLOBIS ได้ทำความรู้จัก ทั้งในเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจไทย แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจในยุค Thailand 4.0 และบทบาทของภาคการเกษตรในประเทศไทย
 
ต่อด้วยการบรรยายของ อ.ดร.ภัทริน ตั้งวรากร ที่นำเสนอหัวข้อเกี่ยวกับ Digital Transformation และการสร้างความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Knowledge) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่ หลังจากจบการบรรยาย นิสิตและนักศึกษาได้ร่วมรับประทานอาหารไทยด้วยกันในบรรยากาศเป็นกันเอง
ในช่วงบ่าย เป็น workshop ในหัวข้อ “Innovation for Social Inclusion” โดย คุณฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร บริษัท กล่องดินสอ จำกัด ซึ่งได้ถ่ายทอดแนวคิดด้านการออกแบบ (Design Thinking) โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ว่าในการสร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้น เราต้องรู้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นทำขึ้นมาเพื่อใคร และมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาอะไรให้กับผู้ใช้ พร้อมทั้งมีกิจกรรมเชิงปฏิบัติ ให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันออกแบบ รีโมตคอนโทรลสำหรับเล่นเกม Nintendo Switch ที่เหมาะสมกับผู้พิการ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงออกแบบอย่างสร้างสรรค์และเข้าใจผู้ใช้อย่างลึกซึ้ง
 
On April 28, 2025, students from GLOBIS University, Japan, visited Chulalongkorn Business School to participate in a cultural and academic exchange with our MBA students. The program continues through April 30.
The morning session featured a lecture on “The Thai Economy and Sustainability” by Assoc. Prof. Dr. Kanis Saengchote, who provided an overview of Thailand’s economic structure, development trends under Thailand 4.0, and the role of agriculture.
This was followed by Dr. Pattharin Tangwaragorn’s talk on Digital Transformation and the importance of Digital Knowledge in driving the modern economy.
After the lectures, participants shared a Thai lunch in a friendly, cross-cultural setting.
In the afternoon, students joined a hands-on workshop on “Innovation for Social Inclusion” led by Mr. Chatchai Aphibanpoonpon, founder and CEO of Klong Dinsor Co., Ltd.
Through the lens of design thinking, students worked in teams to create inclusive solutions—such as a game controller for people with disabilities—highlighting the power of empathy and creativity in innovation.

หลักสูตร MBA ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT)

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2568 หลักสูตร MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสองสถาบันชั้นนำของโลก โดยมีนิสิตนักศึกษาจากทั้งสองมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และการจัดการธุรกิจในยุคดิจิทัล
ในโอกาสนี้ คณาจารย์จากทั้งสองมหาวิทยาลัยได้ร่วมกล่าวต้อนรับ และเน้นย้ำถึงความร่วมมือทางการศึกษาที่กำลังจะเกิดขึ้นผ่าน หลักสูตร Chula-LGO ซึ่งเป็นหลักสูตรสองปริญญาที่จะพัฒนาผู้นำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ การบริหารธุรกิจ และการจัดการภาคอุตสาหกรรม การพบปะครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และเตรียมความพร้อมสำหรับโครงการในอนาคต
บรรยากาศของงานเต็มไปด้วยมิตรภาพและการแลกเปลี่ยนมุมมองที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย โดยปิดท้ายด้วยการร่วมรับประทานอาหารไทย ณ ห้อง True Lab @ Chula Engineering : 5G & Innovative Solution Center ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์จากทั้งสองสถาบัน เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือทางการศึกษาและงานวิจัยที่แข็งแกร่งในอนาคต
 

นิสิตMBA Chula คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากเวทีการประกวด Venture Capital Investment Competition-VCIC

นิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (MBA Chula) คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากเวทีการประกวด Venture Capital Investment Competition-VCIC ที่จัดขึ้นที่ Nanyang Technological University (NTU), Singapore เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา
ตัวแทนนิสิต 5 ท่านที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ เป็นนิสิตหลักสูตร MBA Executive รุ่นที่ 39 และ English Program รุ่นที่ 19 ประกอบด้วย
1. Mr. Bhisidh Nardee (Executive 39)
2. Ms. Xiao Yan Liang (English 19)
3. Mr. Andrew Mauricio (English 19)
4. Mr. Justin Quiel Nealiga (English 19)
5. Mr. Zhen Hao Chi (English 19)
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. คณิสร์ แสงโชติ เป็นผู้ฝึกสอนและเตรียมความพร้อมให้กับทีมก่อนการแข่งขัน และ อาจารย์ ดร. องอาจ สิงโตกุล เป็นที่ปรึกษาและดูแลนิสิตในระหว่างการแข่งขันที่สิงคโปร์
รางวัลชนะเลิศตกเป็นของทีมจาก Nanyang Technological University (NTU) และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 คือทีมจาก National University of Singapore (NUS)
เวทีการประกวดในครั้งนี้วัดความสามารถของผู้เข้าแข่งขันที่สวมบทบาทนักวิเคราะห์ของกองทุน Venture Capital
ผู้แข่งขันต้องแสดงศักยภาพในการวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจ start-up แต่ละรายที่เข้ามา pitch ประเมินมูลค่าและโอกาสต่อยอด เจรจาต่อรองเงื่อนไข และนำเสนอการตัดสินใจลงทุนใน start-up ที่เลือกให้คณะกรรมการลงทุน เป็นการจำลองการทำงานของ VC จริง
ผลงานของทีมแสดงถึงความสามารถของนิสิตในหลักสูตรฯ ที่ทัดเทียมมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับนานาชาติ

นิสิต MBA Young Executive 30/2 เดินทางไปศึกษาดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี

#CBSEL #CBSImpact #MBAChula #MBAChulaCSV #CBSChula #ChulalongkornBusinessSchool

หลักสูตร MBA Chula พานิสิตจาก MBA Young Executive รุ่น 30/2 ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดชลบุรี นิสิตได้เรียนรู้แนวทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมจากบริษัท ห้องเย็นธรรมธุรกิจ, ร้านยักษ์กะโจน และศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง เมื่อวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2567 การศึกษาดูงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Business Ethics and Creating Shared Values (CSV)

🌾 วันแรก ที่บริษัทห้องเย็นธรรมธุรกิจ, นิสิตและอาจารย์ได้เห็นการจัดการกระบวนการเก็บรักษาวัตถุดิบจากเกษตรกรสู่ปลายน้ำ, จากนั้นเยี่ยมชมร้านอาหาร “ยักษ์กะโจน” พร้อมรับฟังบรรยายจากคุณหนาว พิเชษฐ โตนิติวงศ์ ผู้จัดการไปทั่ว บริษัท ธรรมธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคมจำกัด ที่แบ่งปันเรื่องราวการสร้างและสนับสนุนการทำธุรกิจเพื่อสังคมให้ยั่งยืน โดยมีแนวคิดในการรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบธรรมชาติ ต่อยอดส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สร้างเป็นสังคมแห่งการให้ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน และขยายไปถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีสิทธิ์ที่จะได้เข้าถึงอาหารที่มีความปลอดภัย ภายใต้เงื่อนไขของราคาที่เป็นธรรม

🌿 วันที่สอง ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง, นิสิตได้ศึกษาหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติ, คุณหนาวและทีมวิทยากรได้อธิบายถึงการเชื่อมโยงกันของหลักการทำธุรกิจเพื่อสังคม.

👩‍🎓👨‍🎓 การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณเป็นกุญแจสำคัญในการเติบโตของนิสิต ติดตามข้อมูลและกิจกรรมของหลักสูตร MBA Chula ได้ที่นี่เพื่อร่วมสนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน! 🌟

นิสิต MBA Executive เดินทางไปดูงานศึกษาดูงานแบรนด์ “อาข่า อ่ามา”

เมื่อวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา หลักสูตร MBA Chula ได้นำนิสิต MBA Executive รุ่น 39 เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการศึกษาดูงานครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา Business Ethics and Creating Shared Values (CSV)

ในช่วงเช้าวันแรกของการศึกษาดูงาน ทางหลักสูตรได้รับความร่วมมือจากคุณลี อายุ จือปา เจ้าของแบรนด์ “อาข่า อ่ามา” ในการบรรยายให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในละแวกชุมชนที่คุณลีอาศัยอยู่ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา โดยการบรรยายในครั้งนี้ไม่เพียงแต่สร้างมุมมองการพัฒนาธุรกิจแนวทางใหม่ๆ ให้แก่นิสิต แต่ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด CSV อันเป็นสาระสำคัญของการศึกษาดูงานในครั้งนี้อีกด้วย

 

ช่วงบ่ายของวันเดียวกันนั้น คณะนิสิตและคณาจารย์ได้เดินทางไปยัง “ม่อนแบรี” โครงการวิสาหกิจเพื่อสังคม ณ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ หนึ่งในผู้ก่อตั้งม่อนแบรีได้บอกเล่าถึงสถานการณ์และความท้าทายที่กำลังประสบอยู่ ณ ขณะนั้น

ดร.ธัญญวัฒน์กล่าวว่าม่อนแบรีเป็นโครงการวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ตั้งเป้าในการช่วยเหลือชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่ในการเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคโดยการตั้งตัวเป็นคนกลาง ความตั้งใจของดร.ธัญญวัฒน์และผู้ดำเนินวิสาหกิจท่านอื่นๆ คือการขยายตลาดของม่อนแบรีให้ใหญ่มากพอที่จะรองรับผลผลิตจากผู้ผลิต เชื่อมโยงเกษตกรเข้ากับผู้บริโภคและทำให้ม่อนแบรีสามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยตัวเองในท้ายที่สุด ซึ่งปัจจุบันม่อนแบรีประสบปัญหาในการสร้างความรับรู้ในหมู่ผู้บริโภคและถือเป็นโจทย์หลักของนิสิต MBA Executive รุ่น 39 ที่ต้องหาทางแก้ไข รวมถึงสรรหาแนวทางในการพัฒนาวิสาหกิจนี้ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

หลังจากได้รับฟังทั้งประสบการณ์การดำเนินกิจการเพื่อสังคมจากคุณลีและสถานการณ์ความเป็นไปของม่อนแบรีจากดร.ธัญญวัฒน์แล้ว นิสิต MBA Executive รุ่น 39 แต่ละกลุ่มต่างใช้เวลาของการศึกษาดูงานวันที่สองในการระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาโดยประยุกต์ความรู้ที่ได้รับจากการบรรยายตลอดช่วงการเรียนวิชา Business Ethics and Creating Shared Values (CSV) และวิชาอื่นๆ ของหลักสูตรจนในที่สุดก็สามารถนำเสนอแผนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาวิสาหกิจม่อนแบรีให้แก่ดร.ธัญญวัฒน์ได้ในบ่ายวันเดียวกันนั้นเอง ซึ่งการนำเสนอนั้นดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยทั้งนิสิตและดร.ธัญญวัฒน์ต่างได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงชี้แนะหนทางในการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เปิดโอกาสให้เห็นช่องทางในการแก้สถานการณ์ปัจจุบันของม่อนแบรีได้ในที่สุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save