Skip to main content

หลักสูตร MBA ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT)

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2568 หลักสูตร MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสองสถาบันชั้นนำของโลก โดยมีนิสิตนักศึกษาจากทั้งสองมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และการจัดการธุรกิจในยุคดิจิทัล
ในโอกาสนี้ คณาจารย์จากทั้งสองมหาวิทยาลัยได้ร่วมกล่าวต้อนรับ และเน้นย้ำถึงความร่วมมือทางการศึกษาที่กำลังจะเกิดขึ้นผ่าน หลักสูตร Chula-LGO ซึ่งเป็นหลักสูตรสองปริญญาที่จะพัฒนาผู้นำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ การบริหารธุรกิจ และการจัดการภาคอุตสาหกรรม การพบปะครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และเตรียมความพร้อมสำหรับโครงการในอนาคต
บรรยากาศของงานเต็มไปด้วยมิตรภาพและการแลกเปลี่ยนมุมมองที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย โดยปิดท้ายด้วยการร่วมรับประทานอาหารไทย ณ ห้อง True Lab @ Chula Engineering : 5G & Innovative Solution Center ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์จากทั้งสองสถาบัน เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือทางการศึกษาและงานวิจัยที่แข็งแกร่งในอนาคต
 

นิสิตMBA Chula คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากเวทีการประกวด Venture Capital Investment Competition-VCIC

นิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (MBA Chula) คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากเวทีการประกวด Venture Capital Investment Competition-VCIC ที่จัดขึ้นที่ Nanyang Technological University (NTU), Singapore เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา
ตัวแทนนิสิต 5 ท่านที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ เป็นนิสิตหลักสูตร MBA Executive รุ่นที่ 39 และ English Program รุ่นที่ 19 ประกอบด้วย
1. Mr. Bhisidh Nardee (Executive 39)
2. Ms. Xiao Yan Liang (English 19)
3. Mr. Andrew Mauricio (English 19)
4. Mr. Justin Quiel Nealiga (English 19)
5. Mr. Zhen Hao Chi (English 19)
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. คณิสร์ แสงโชติ เป็นผู้ฝึกสอนและเตรียมความพร้อมให้กับทีมก่อนการแข่งขัน และ อาจารย์ ดร. องอาจ สิงโตกุล เป็นที่ปรึกษาและดูแลนิสิตในระหว่างการแข่งขันที่สิงคโปร์
รางวัลชนะเลิศตกเป็นของทีมจาก Nanyang Technological University (NTU) และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 คือทีมจาก National University of Singapore (NUS)
เวทีการประกวดในครั้งนี้วัดความสามารถของผู้เข้าแข่งขันที่สวมบทบาทนักวิเคราะห์ของกองทุน Venture Capital
ผู้แข่งขันต้องแสดงศักยภาพในการวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจ start-up แต่ละรายที่เข้ามา pitch ประเมินมูลค่าและโอกาสต่อยอด เจรจาต่อรองเงื่อนไข และนำเสนอการตัดสินใจลงทุนใน start-up ที่เลือกให้คณะกรรมการลงทุน เป็นการจำลองการทำงานของ VC จริง
ผลงานของทีมแสดงถึงความสามารถของนิสิตในหลักสูตรฯ ที่ทัดเทียมมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับนานาชาติ

นิสิต MBA Young Executive 30/2 เดินทางไปศึกษาดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี

#CBSEL #CBSImpact #MBAChula #MBAChulaCSV #CBSChula #ChulalongkornBusinessSchool

หลักสูตร MBA Chula พานิสิตจาก MBA Young Executive รุ่น 30/2 ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดชลบุรี นิสิตได้เรียนรู้แนวทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมจากบริษัท ห้องเย็นธรรมธุรกิจ, ร้านยักษ์กะโจน และศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง เมื่อวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2567 การศึกษาดูงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Business Ethics and Creating Shared Values (CSV)

🌾 วันแรก ที่บริษัทห้องเย็นธรรมธุรกิจ, นิสิตและอาจารย์ได้เห็นการจัดการกระบวนการเก็บรักษาวัตถุดิบจากเกษตรกรสู่ปลายน้ำ, จากนั้นเยี่ยมชมร้านอาหาร “ยักษ์กะโจน” พร้อมรับฟังบรรยายจากคุณหนาว พิเชษฐ โตนิติวงศ์ ผู้จัดการไปทั่ว บริษัท ธรรมธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคมจำกัด ที่แบ่งปันเรื่องราวการสร้างและสนับสนุนการทำธุรกิจเพื่อสังคมให้ยั่งยืน โดยมีแนวคิดในการรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบธรรมชาติ ต่อยอดส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สร้างเป็นสังคมแห่งการให้ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน และขยายไปถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีสิทธิ์ที่จะได้เข้าถึงอาหารที่มีความปลอดภัย ภายใต้เงื่อนไขของราคาที่เป็นธรรม

🌿 วันที่สอง ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง, นิสิตได้ศึกษาหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติ, คุณหนาวและทีมวิทยากรได้อธิบายถึงการเชื่อมโยงกันของหลักการทำธุรกิจเพื่อสังคม.

👩‍🎓👨‍🎓 การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณเป็นกุญแจสำคัญในการเติบโตของนิสิต ติดตามข้อมูลและกิจกรรมของหลักสูตร MBA Chula ได้ที่นี่เพื่อร่วมสนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน! 🌟

นิสิต MBA Executive เดินทางไปดูงานศึกษาดูงานแบรนด์ “อาข่า อ่ามา”

เมื่อวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา หลักสูตร MBA Chula ได้นำนิสิต MBA Executive รุ่น 39 เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการศึกษาดูงานครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา Business Ethics and Creating Shared Values (CSV)

ในช่วงเช้าวันแรกของการศึกษาดูงาน ทางหลักสูตรได้รับความร่วมมือจากคุณลี อายุ จือปา เจ้าของแบรนด์ “อาข่า อ่ามา” ในการบรรยายให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในละแวกชุมชนที่คุณลีอาศัยอยู่ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา โดยการบรรยายในครั้งนี้ไม่เพียงแต่สร้างมุมมองการพัฒนาธุรกิจแนวทางใหม่ๆ ให้แก่นิสิต แต่ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด CSV อันเป็นสาระสำคัญของการศึกษาดูงานในครั้งนี้อีกด้วย

 

ช่วงบ่ายของวันเดียวกันนั้น คณะนิสิตและคณาจารย์ได้เดินทางไปยัง “ม่อนแบรี” โครงการวิสาหกิจเพื่อสังคม ณ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ หนึ่งในผู้ก่อตั้งม่อนแบรีได้บอกเล่าถึงสถานการณ์และความท้าทายที่กำลังประสบอยู่ ณ ขณะนั้น

ดร.ธัญญวัฒน์กล่าวว่าม่อนแบรีเป็นโครงการวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ตั้งเป้าในการช่วยเหลือชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่ในการเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคโดยการตั้งตัวเป็นคนกลาง ความตั้งใจของดร.ธัญญวัฒน์และผู้ดำเนินวิสาหกิจท่านอื่นๆ คือการขยายตลาดของม่อนแบรีให้ใหญ่มากพอที่จะรองรับผลผลิตจากผู้ผลิต เชื่อมโยงเกษตกรเข้ากับผู้บริโภคและทำให้ม่อนแบรีสามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยตัวเองในท้ายที่สุด ซึ่งปัจจุบันม่อนแบรีประสบปัญหาในการสร้างความรับรู้ในหมู่ผู้บริโภคและถือเป็นโจทย์หลักของนิสิต MBA Executive รุ่น 39 ที่ต้องหาทางแก้ไข รวมถึงสรรหาแนวทางในการพัฒนาวิสาหกิจนี้ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

หลังจากได้รับฟังทั้งประสบการณ์การดำเนินกิจการเพื่อสังคมจากคุณลีและสถานการณ์ความเป็นไปของม่อนแบรีจากดร.ธัญญวัฒน์แล้ว นิสิต MBA Executive รุ่น 39 แต่ละกลุ่มต่างใช้เวลาของการศึกษาดูงานวันที่สองในการระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาโดยประยุกต์ความรู้ที่ได้รับจากการบรรยายตลอดช่วงการเรียนวิชา Business Ethics and Creating Shared Values (CSV) และวิชาอื่นๆ ของหลักสูตรจนในที่สุดก็สามารถนำเสนอแผนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาวิสาหกิจม่อนแบรีให้แก่ดร.ธัญญวัฒน์ได้ในบ่ายวันเดียวกันนั้นเอง ซึ่งการนำเสนอนั้นดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยทั้งนิสิตและดร.ธัญญวัฒน์ต่างได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงชี้แนะหนทางในการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เปิดโอกาสให้เห็นช่องทางในการแก้สถานการณ์ปัจจุบันของม่อนแบรีได้ในที่สุด

นิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 เดินทางมาศึกษาดูงาน ณ เมืองมานน์ไฮม์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

นิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 เดินทางมาศึกษาดูงาน ณ เมืองมานน์ไฮม์ ประเทศเยอรมัน ระหว่างวันที่ 21-25 ตุลาคม 2567 เพื่อเสริมสร้าง Global Business Experience ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตร
สำหรับช่วงเช้าของวันแรก คณะนิสิตได้มาศึกษาดูงานที่ BASF Site Ludwigshafen เริ่มจากเจ้าหน้าที่ Visitor Center กล่าวแนะนำประวัติบริษัทและภาพรวมธุรกิจของ BASF บริษัทเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถนะ โภชนาการ-สุขภาพ และสินค้าเกษตร เพื่อป้อนวัตุดิบให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมและภาคการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก โดย Ludwigshafen เป็นนิคมอุตสาหกรรมเคมีแห่งแรกและมีขนาดใหญ่ที่สุดของ BASF
จากนั้นได้เยี่ยมชม Exhibition Hall เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจที่เข้าสู่ยุคแห่งความยั่งยืน และ นวัตกรรม ซึ่งกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทุกอุตสาหกรรม จึงเป็นโจทย์สำคัญของ BASF ที่ต้องทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกันกับลูกค้าที่ต้องการปรับธุรกิจเข้ากับสภาพแวดล้องทางธุรกิจยุคใหม่ เกิดเป็น สินค้าใหม่ วัสดุใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ ที่ยั่งยืน อาทิ เช่น สีและวัสดุยานยนต์ที่มีน้ำหนักเบาแต่ทนทาน ช่วยประหยัดน้ำมัน ประหยัดพลังงานไฟฟ้า วัสดุเสื้อผ้า Zara ที่ทำจากพลาสติกเหลือใช้ นอกจากนี้ BASF เองก็ได้เริ่มเข้าสู่ธุรกิจใหม่อย่าง วัสดุสำหรับการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
คณะนิสิตยังได้ศึกษาเกี่ยวกับ Site Ludwigshafen ที่มีขนาดใหญ่ถึง 10 ตารางกิโลเมตร ติดแม่น้ำไรน์ มีพนักงานกว่า 30,000 คน ออฟฟิศและโรงงานกว่า 2,000 อาคาร และ ท่อส่งรวมยาวกว่า 2,850 กม. เรียนรู้จุดเด่นการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง สูญเสียน้อย ด้วยระบบผลิตและขนส่งที่เชื่อมโยงกัน ควบคู่ไปกับการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ด้วยการรักษามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงสุด ไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือส่งผลกระทบต่อชุมชน เช่น ระบบป้องกันสารเคมีรั่วไหล ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศ รวมไปถึงการสร้างศูนย์การแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพพนักงานและชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Site Ludwigshafen ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนคู่กับชุมชนมากว่า 159 ปี
จากนั้นคณะนิสิตรับฟังการบรรยายขณะเข้าชม Site Tour บนรถบัส สำหรับการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักของ BASF เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยื่งยืน หน่วยงานวิจัยและพัฒนาได้นำ Super Computer มาช่วยวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสูตรการผลิตต่างๆ และช่วยคัดเลือกสูตรที่มีโอกาสสำเร็จสูงให้กับนักวิจัย หน่วยงานการผลิตศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการสร้างความร้อนของ Steam Crackers ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ และหน่วยงานขนส่งพัฒนาร่วมกับบริษัทพันธมิตร ผลิตตู้คอนเทนเนอร์จัดเก็บสารเคมีของ BASF เองทดแทนการเช่าตู้จากบริษัทขนส่ง โดย นวัตกรรมตู้เคมี ของ BASF นี้สามารถขนส่งได้ทั้ง เรือ รถไฟ รถยนต์ และสามารถจัดเก็บตู้ในแนวตั้งได้เป็นที่แรกของโลก

ช่วงบ่ายของวันแรกในทริปการดูงานของนิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 คณะนิสิตได้เข้าเยี่ยมชม โรงเบียร์ Klosterhof Heidelburg ณ เมือง Heidelburg ซึ่งเป็นโรงเบียร์ขนาดเล็กมีกำลังผลิต 250,000 ลิตรต่อปี โรงเบียร์แห่งนี้มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเบียร์แบบ Artisan โดยเน้นคุณภาพผ่านการใช้วัตถุดิบออร์แกนิกเช่น มอลต์และฮ็อปจากแหล่งที่มีชื่อเสียงในเยอรมนีอย่าง Hallertau และ Tettnang พร้อมใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทางโรงเบียร์ได้ให้ความรู้แต่ละขั้นตอนในการผลิตเบียร์ภายใต้กฏหมายของประเทศเยอรมันที่มีข้อจำกัดของวัตถุดิบที่นำมาในการผลิต ด้านการจัดจำหน่าย เพื่อให้คงความสดใหม่ของรสชาติและคุณภาพ จึงมีการวางจำหน่ายเพียงระยะ 30 กม. จากโรงเบียร์เท่านั้น โดยเน้นที่ร้านสะดวกซี้อเป็นหลัก จากการเยี่ยมชมได้เห็นตัวอย่าง การทำธุรกิจที่มีรูปแบบชัดเจนของโรงเบียร์ ที่มุ่งเน้นผลิตสินค้ามีคุณภาพ สู่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ดื่มเบียร์ออร์แกนิก ซึ่งมีราคาแพงกว่าเบียร์ทั่วไปถึงเท่าตัว ทำให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของธุรกิจ

สำหรับวันที่ 2 และวันที่ 3 (ช่วงเช้า) ในทริปการดูงานของนิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 คณะนิสิตได้รับฟังการบรรยายที่ Mannheim Business School ซึ่ง Mannheim เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจลำดับต้นๆ ของประเทศเยอรมัน
นิสิตได้รับฟังบรรยายหัวข้อ “New Germany – the end of the German idyll” จาก Professor Alexander Pfisterer โดยอาจารย์ได้บรรยายถึงภูมิประเทศ วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจของประเทศเยอรมันในปัจจุบัน รวมถึงความท้าทายต่างๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญ อาทิ เช่น
1. ความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ประเทศเยอรมันมียอดส่งออกลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอดีต
2. ความท้าทายด้านการบริหารจัดการพลังงานสำหรับใช้ภายในประเทศ ที่พึ่งพาการนำเข้าจากประเทศต่างๆ และการตัดสินใจเรื่องการไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในประเทศจนถึงปี 2040
3. ความท้าทายที่ประเทศเยอรมันเป็นประเทศที่มี Bureaucracy สูง หลายๆ เรื่องถูกกำกับมากเกินไป (Overregulated) ทำให้ประเทศขาดความคล่องตัวในการดำเนินงานในหลายมิติ
การบรรยายนี้ช่วยให้นิสิตได้เข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศเยอรมัน รวมถึงได้เห็นภาพรวมของความท้าทายที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเยอรมันกับปัญหาที่กำลังเผชิญในยุคปัจจุบัน
นอกจากนั้นคณะนิสิตยังได้รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง Entrepreneurship & Innovation จาก Professor Dennis Steininger โดยอาจารย์ได้นำเสนอภาพรวมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศเยอรมัน
หนึ่งในไฮไลท์สำคัญคือการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพในเมือง Mannheim หลายแห่ง โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและรัฐบาลท้องถิ่น แต่ละศูนย์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน เช่น ศูนย์ Mafinex ที่เน้นด้านเทคโนโลยี ศูนย์สำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ศูนย์ด้านสิ่งทอ และศูนย์ด้านเทคโนโลยีการแพทย์
นอกจากนั้นคณะนิสิตยังได้รับฟังการบรรยายจาก Mr. Daniel Antonatus ผู้ก่อตั้งและ CFO ของบริษัท Crateflow สตาร์ทอัพด้านการพยากรณ์อุปสงค์และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งได้แชร์ประสบการณ์การเริ่มต้นธุรกิจ และเคล็ดลับในการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร และต้องจัดการความท้าทายต่างๆ อย่างไรได้อย่างน่าสนใจ
การบรรยายนี้ทำให้นิสิตเห็นภาพชัดเจนถึงความพยายามของประเทศเยอรมันในการสร้างระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ แม้จะมีความท้าทายด้านกฎระเบียบและระบบราชการที่ซับซ้อน แต่การสนับสนุนอย่างเป็นระบบจากภาครัฐและสถาบันการศึกษาก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ และยังได้รับมุมมองที่น่าสนใจจากผู้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศเยอรมันอีกด้วย
ในช่วงบ่ายของวันที่ 3  คณะอาจารย์และนิสิตมาเยี่ยมชมไร่องุ่น Weingut von Winning ผู้ผลิตไวน์ระดับแนวหน้าของเยอรมนี ทริปนี้ไม่ได้มีแค่การดื่มด่ำรสชาติไวน์ชั้นเลิศ แต่นิสิตยังได้เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจของนิสิตในอนาคตด้วย ไร่องุ่น Weingut von Winning เป็นไร่องุ่นคุณภาพระดับโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน VDP (Verband Deutscher Prädikatsweingüter) ซึ่งการันตีคุณภาพระดับโลก เราได้เห็นถึงความมุ่งมั่น ความใส่ใจในรายละเอียด และระบบการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีที่เราสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของเราได้
นอกจากการชิมไวน์ นิสิตยังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์อันยาวนานของไร่องุ่นจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคก่อตั้งในปี 1849 จนถึงปัจจุบัน ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์และคุณภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรม ทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญของการผสมผสานระหว่าง “ความดั้งเดิม” และ “ความทันสมัย” เพื่อสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืน
จากต้นองุ่นสู่ขวดไวน์ Weingut von Winning ปลูกองุ่นเองในไร่ และควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว จนถึงกระบวนการผลิต ทำให้มั่นใจได้ว่า ไวน์ทุกขวด ล้วนเกิดจากวัตถุดิบชั้นเลิศ และความใส่ใจในทุกรายละเอียด ซึ่งเป็นสิ่งที่นิสิตสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้เช่นกัน
ไฮไลท์สำคัญของการเยี่ยมชมครั้งนี้ คือการได้ลิ้มลองไวน์คุณภาพ หลากหลายชนิด หลากหลายไสตล์ ไม่ว่าจะเป็น Riesling ที่หอมสดชื่น หรือไวน์แดงที่เข้มข้น เราได้เรียนรู้ถึง กลิ่น รสชาติ และเทคนิคการผลิตตามเอกลักษณ์ดั้งเดิม ที่ยังคงรักษาขั้นตอนและวัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่ทำให้ไวน์แต่ละขวดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ต่อด้วยการเดินชมห้องเก็บไวน์สุดคลาสสิค ที่ถูกสร้างขึ้นใต้ดิน ที่เต็มไปด้วยถังไม้โอ๊ค ทำให้นิสิตได้สัมผัสถึงบรรยากาศสุดคลาสสิค และเห็นถึงความพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิต
การเยี่ยมชม Weingut von Winning ในครั้งนี้ เป็นมากกว่าแค่การท่องเที่ยว แต่เป็นการเปิดประสบการณ์ เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนมุมมอง ทั้งในด้านการผลิตไวน์ และการบริหารธุรกิจที่ยึดมั่นในคุณค่า (Value) และ คุณภาพ (Quality) ของผลิตภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่องเป็นศตวรรษ ทำให้นิสิตได้ความรู้ แรงบันดาลใจ และมิตรภาพดีๆ กลับไป ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของเราให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การดูงานในวันที่ 4 และ 5 ของคณะนิสิต MBA Executive Chula รุ่น 39 คณะอาจารย์และนิสิตได้เข้าชม Mercedes-Benz Center ที่เมืองสตุทท์การ์ท ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 3 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของ Mercedes-Benz มีพนักงานกว่า 35,000 คน และสามารถผลิตรถยนต์กว่า 300,000 คันต่อปี โดยทุกคันผลิตตามออเดอร์ของลูกค้าเท่านั้น (made to order) 🚗✨
💼 ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ นิสิตได้เข้าชมขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ใช้เครื่องจักรและหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ในการแปรรูป metal sheet กว่า 300 ตันต่อวัน ซึ่งชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าทุกชิ้นที่ออกไปสู่การประกอบสมบูรณ์แบบและไร้ข้อบกพร่อง
🚙 จากนั้นได้เยี่ยมชมไลน์ประกอบรถยนต์ที่มีความยืดหยุ่นสูงสุด ซึ่งช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญสามารถประกอบรถยนต์ได้หลากหลายรุ่นพร้อมกัน และใช้หุ่นยนต์ AGV (Automatic Guide Vehicles) คอยจัดส่งอุปกรณ์อย่างเป็นระบบ ยิ่งกว่านั้น ภายในสายการผลิตยังใช้ระบบ Just-in-time เพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย
🌱 ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมของ Mercedes-Benz ก็โดดเด่นอย่างมาก บริษัทมีโรงงานใหม่ที่ใช้ระบบพ่นสีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าของตัวเอง และการรีไซเคิล metal sheet เหลือใช้เพื่อนำกลับไปหลอมใหม่
👨‍🔧👩‍🔧 บริเวณ Technology Center ที่เป็นแหล่งรวมวิศวกรและดีไซเนอร์กว่า 10,000 คนจากทั่วโลก เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมยานยนต์ที่ปลอดภัยและตรงใจลูกค้าที่สุด พร้อมถนนสำหรับทดสอบรถยนต์อย่างเข้มข้น ทำให้มั่นใจได้ว่ารถทุกคันพร้อมใช้งานเต็มประสิทธิภาพ
นับเป็นประสบการณ์แสนประทับใจที่ได้เห็นถึงการผลิตที่ล้ำสมัยและความมุ่งมั่นของ Mercedes-Benz ในการพัฒนาไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้างรถยนต์คุณภาพสูงที่พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

หลักสูตร MBA Chula เสริมสร้างประสบการณ์และวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจระดับโลกให้กับนิสิตในทริปศึกษาดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

หลักสูตร MBA Chula เสริมสร้างประสบการณ์และวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจระดับโลกให้กับนิสิตในทริปศึกษาดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างวันที่ 8-12 ตุลาคม 2567
โดยในวันแรกของการดูงาน นิสิตได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมบริษัท Hashimoto Sogyo ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการก่อสร้างมายาวนานกว่า 135 ปีและมีสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น
ท่านประธาน Hashimoto ทายาทรุ่นที่ 4 ได้บรรยายแนวคิดที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่คำนึงถึง Stakeholders ทุกภาคส่วน นอกจากนี้ ทาง Hashimoto Sogyo ยังให้ความสำคัญในการร่วมมือกับภาครัฐและสถาบันการศึกษาชั้นนำเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย ในช่วงเข้า นิสิตยังได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Prof. Nakauchi รองอธิการบดีจาก University of Tsukuba ที่บรรยายในหัวข้อ “IoT and Beyond” รวมไปถึง President Miyawaki จาก National Policy Research Institute และ Director Miyagawa ที่เล่าถึงสภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น
สำหรับช่วงบ่าย ทางนิสิตได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ที่ช่วยฝึกอบรมพนักงานและลูกค้าซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ในช่วงค่ำ ได้มีการจัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่นระหว่างนิสิต คณาจารย์ และผู้บริหารของ Hashimoto Sogyo
“เปิดประสบการณ์ Smart City ที่ญี่ปุ่นกับนิสิต MBA”
ในวันที่สอง (10/10) ของการศึกษาดูงาน วันนี้พวกเราได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อง Urban Systems Design และ Smart City จาก Prof. Yoshiki Yamagata จาก Keio University หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น
รู้หรือไม่ว่า Smart City ไม่ได้หมายถึงแค่เมืองที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย แต่คือเมืองที่ใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้คนด้วย! Prof. Yamagata เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาสังคม สร้างเมืองที่น่าอยู่ มีระบบคมนาคมสะดวก และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Society 5.0 ที่มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์และเทคโนโลยีอย่างสมดุล
ช่วงบ่ายเราได้ไปเยี่ยมชม เมืองโยโกฮามา ซึ่งเป็นต้นแบบของ Smart City ในญี่ปุ่น ที่นี่มีการผสมผสานการใช้ชีวิต การทำงาน และการพักผ่อนอย่างลงตัว มีการจัดการพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการเดินเท้าและจักรยาน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ เช่น ตู้กดน้ำลดคาร์บอน และการปลูกสาหร่ายใต้น้ำเพื่อเพิ่ม Biodiversity ให้กับชุมชน
“เปิดประสบการณ์สุดว้าว! นิสิต MBA ชม Toyosu Smart City ที่ญี่ปุ่น 🇯🇵
การศึกษาดูงานในระหว่างวันที่ 8-12 ตุลาคม 2567
วันสุดท้ายของทริปศึกษาดูงานที่โตเกียว เราได้ไปสัมผัสอนาคตที่ Toyosu Smart City ซึ่งพัฒนาโดย Shimizu Corporation บริษัทก่อสร้างชื่อดังของญี่ปุ่น
ที่นี่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็น AI Camera ที่คอยตรวจจับจำนวนคนที่อยู่ในอาคาร หรือระบบจัดการภัยพิบัติที่สามารถรองรับผู้คนได้ถึง 200 คนเป็นเวลา 3 วัน! นอกจากนี้ ยังมีระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น รถบัสพลังงานไฮโดรเจน และรถบัสไร้คนขับ ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมญี่ปุ่น
ช่วงบ่าย เราได้ร่วมงาน Mirai-Ichi ของ Hashimoto Sogyo ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่รวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในอนาคต โดยมีบริษัทชั้นนำมาร่วมออกบูธกว่า 400 บริษัท!
ทริปนี้ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ แต่เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เราได้เห็นถึงโอกาสและความท้าทายในโลกธุรกิจยุคใหม่

Exciting Adventures with the Global Business Track (GBT)!

Exciting Adventures with the Global Business Track (GBT)!
Our GBT students had the incredible opportunity to explore the cultural and historical wonders of Ayutthaya, the ancient capital of Thailand. From breathtaking ancient sites to fascinating museums, every moment was filled with awe and learning. This journey not only enriched their knowledge of Thai history but also provided endless fun and unforgettable experiences. We’re thrilled to see our international students gaining so much from this beautiful adventure!

นิสิตหลักสูตร MBA Young Executive ศึกษาดูงานธุรกิจสายการบินและกิจกรรม CSR สถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย

ภายใต้การเรียนการสอนวิชา Business Ethics and Creating Shared Values (CSV) นิสิตหลักสูตร MBA Young Executive 30/1 ในเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา นิสิตได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงานการดำเนินงานของสายการบิน Thai Air Asia ณ ศูนย์ฝึกและพัฒนาบุคลากร Air Asia Aviation Academy และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง โดยความร่วมมือและความอนุเคราะห์จาก คุณกฤษ พัฒนสาร ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ (ศิษย์เก่า MBA Executive 37) และทีมงาน ทำให้นิสิตเข้าใจถึงระบบการทำงานขององค์กรที่ให้ความสำคัญในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในการให้บริการ และยังมุ่งเน้นที่จะพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงในการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สายการบินสามารถแข่งขันในเวทีโลกและพาให้องค์กรก้าวไปสู่ความยั่งยืน พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงค่านิยมของการทำงานในองค์กรที่มุ่งเน้นให้ทำงานอย่างสนุก มีความสุขซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานเป็นไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ในวันที่สองของการศึกษาดูงานในวิชา Business Ethics and Creating Shared Values (CSV) ของนิสิตหลักสูตร MBA Young Executive 30/1 หลักสูตรฯได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (SACIT) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีเป้าหมายในการผลักดัน และสนับสนุนอุตสาหกรรมศิลปหัตถกรรมของประเทศไทยให้มีการพัฒนาเท่าทันยุคสมัย และเติบโตไปได้ในอนาคต พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการสืบสานถ่ายทอดทักษะของครูช่างที่มีฝีมือในการผลิตงานศิลปหัตกรรมไทยให้คงอยู่และสืบสานอย่างต่อเนื่องให้กับคนรุ่นหลัง
.
และนิสิตยังได้มีโอกาสเข้าชมนิทรรศการที่จัดแสดง ณ ศูนย์จัดแสดงขององค์กร ซึ่งนิทรรศการได้บอกเล่าเรื่องราวรูปแบบ แขนงของศิลปหัตถกรรมของไทย ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในรูปแบบดั้งเดิมจากครูช่างฝีมืออาวุโสที่อยู่ในเครือข่ายของ SACIT และผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาต่อยอด ผสมผสานศิลปะแขนงอื่น ๆ และมีความร่วมสมัย อีกทั้ง SACIT ยังเป็นที่จัดเก็บฐานข้อมูลวิธีการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่าของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย

MBA students from Regular and English Program embarked on a field trip to Suan Sampran, Nakhon Pathom

On June 29, 2024 MBA students from Regular and English Program embarked on a field trip to Suan Sampran, Nakhon Pathom Province. They learned from Khun Arus Nawarach, the manager of Suan Sampran and founder of Sampran Model and Sukjai Market, about Social Contribution Business’ and ‘Business Development.’
.
Khun Arus recounted the origins of the ‘Sampran Model,’ aimed at addressing imbalances in the food system caused by agricultural chemical usage, pricing practices by middlemen, and waste management processes, all of which impact health, environment, society, and economy. The ‘Sampran Model’ focuses on organic farming to create value, safety, and connections between farmers and consumers at fair prices. It promotes learning and collaboration among farmers, entrepreneurs, and consumers, stimulating positive societal change.
.
Afterwards, they visited Patom Organic Farm to observe practices of organic farming, including rice planting, rice husking, learning herbal insect repellent techniques, vermicompost production, and organic waste management.
.
In the afternoon, the students participated in workshops to create organic products such as herbal inhaler, aromatherapy massage oil, organic rice scrub, and visited Sukjai Market, a venue selling products from farmers involved with the Sampran Model where they able to directly support for organic societal initiatives.
 
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา นิสิต MBA หลักสูตร Regular และ MBA English Program ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้รับเกียรติจาก คุณอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการสวนสามพราน ผู้ก่อตั้งสามพรานโมเดลและตลาดสุขใจ มาบรรยายในหัวข้อ “Social Contribution Business” และ “Business Development”
.
คุณอรุษได้เล่าถึงที่มาของ ‘สามพรานโมเดล’ ที่มุ่งแก้ไขปัญหาระบบอาหารที่ไม่สมดุล ทั้งจากการใช้สารเคมีของเกษตรกร การตั้งราคาของพ่อค้าคนกลางและกระบวนการจัดการขยะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
‘สามพรานโมเดล’ มุ่งเน้นการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างคุณค่า ความปลอดภัย และการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคด้วยราคาที่เป็นธรรม สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมกันระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ดีขึ้น
.
จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชม Patom Organic Farm เพื่อให้เห็นภาพการทำเกษตรอินทรีย์ชัดเจนยิ่งขึ้น ชมวิถีการดำนา การสีข้าวและฝัดข้าวแบบโบราณ เรียนรู้วิธีการทำสมุนไพรไล่แมลง การทำน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน รวมถึงการจัดการขยะโดยการนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์
.
ในช่วงบ่าย นิสิตได้ร่วมกิจกรรม workshop ทำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก เช่น ยาดมสมุนไพร น้ำมันนวดอโรม่า สครับข้าวออร์แกนิก และเยี่ยมชมตลาดสุขใจ สถานที่จำหน่ายสินค้าของกลุ่มเกษตรกรที่ร่วมกับสามพรานโมเดล สามารถอุดหนุนสินค้าจากเกษตรกรโดยตรง ถือเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและช่วยขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์

กิจกรรมปฐมนิเทศนิสิตใหม่ – Young Executive 31/1,English Program#19และRegular #43

หลักสูตร MBA Chula จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนิสิตใหม่ – Young Executive 31/1 , MBA English Program # 19 และ Regular 43

เพื่อต้อนรับนิสิตใหม่ ที่เข้าศึกษาในภาคต้น ปีการศึกษา 2567 โดยจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคี การทำงานเป็นทีม เพื่อเตรียมความพร้อมให้นิสิตก่อนเข้าศึกษาในหลักสูตร ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 15 – 16 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา

MBA Chula organized orientation activities for new students in MBA Young Executive 31/1,English Program 19 and MBA Regular # 43
To welcome our new students in academic year 2024, we organizing activities to build relationships, unity and teamwork. Our goal is to prepare students for their journeys in our programs. Ravindra Beach Resort and Spa Hotel, Chonburi Province, Thailand, On 15-16 June, 2024.

#MBAChula#MBA#CBS#MBAEnglish #MBAYoungExec #MBARegular

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save