Skip to main content

คณะนิสิตจาก Hiroshima Business and Management School (HBMS)เดินทางมาทัศนศึกษาและดูงานยังประเทศไทยและคณะบัญชี จุฬา

วันที่ 3 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา Hiroshima Business and Management School (HBMS), Prefectural University of Hiroshima ได้เดินทางมาทัศนศึกษาและดูงานยังประเทศไทย โดยมี MBA Chula เป็นผู้ดูแล ในวันแรกของการดูงาน รศ.ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์ ประธานหลักสูตรฯ เป็นผู้กล่าวแนะนำคณะ พร้อมทั้งพาชมสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในคณะ อาทิ ห้องปฏิบัติการทางการเงิน (Financial Lab) และห้อง Management Theater หรือห้องเภตราลัย

ต่อจากนั้น รศ. ดร.ณัฐพล ได้บรรยายในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ของธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย” (Japanese Firm Strategy in Thailand) ซึ่งจะกล่าวถึง ความต่างในวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมประหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับตัวของธุรกิจญี่ปุ่นในการเข้าสู่ตลาดประเทศไทย

หลังจากนั้นจึงปิดท้ายด้วยการกล่าวต้อนรับอีกครั้งจาก ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนของที่ระลึกระหว่างทั้ง 2 มหาวิทยาลัย

วันที่ 2 ของการดูงานภายในประเทศของ HBMS โดยเริ่มต้นด้วยการอบรมจาก ผศ.ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ ที่มาบรรยายภายใต้หัวข้อ “ทำความเข้าใจวัฒนธรรมไทย” (Understanding Thai Culture) ซึ่งก็มีนิสิตไทยจากหลักสูตร Regular รุ่นที่ 42 ของ MBA Chula มาเข้าร่วมการอบรมด้วย
.
เนื้อหาของการอบรมนั้น ก็คือการนำเสนอความรู้ในส่วนของวัฒนธรรมไทย โดยเป็นการบรรยายแบบเบื้องต้น และภาพรวมเพื่อแสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 ประเทศนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
.
โดย ผศ.ดร.กฤตินี ได้นำเสนอว่าวัฒนธรรมของไทยนั้น ก็มีความผูกโยงกับแนวคิดชนชั้นตามประวัติศาสตร์ไทย สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมที่เราเห็นได้ในปัจจุบันอย่าง เฟอร์นิเจอร์, อาหาร และการแสดงนั้น มีรากฐานมาจากชนชั้นนำ เช่นเดียวกับสิ่งที่เราไม่เห็น อาทิ ค่านิยมทางความคิด, ขนบธรรมเนียม กิริยามารยาท และพฤติกรรม ที่มีรากฐาน และความเกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องชนชั้นของไทยเช่นกัน
.
กล่าวโดยสรุปแล้วนั้น แนวคิดเรื่องชนชั้นของประเทศไทยมีผลกระทบเป็นอย่างยิ่งกับวัฒนธรรมของประเทศ
 
ในภาคบ่ายของการเรียน คุณธิษณา ธิติศักดิ์สกุล Chief Executive Officer & Co-founder ของ Noburo ได้ทำการนำเสนอภายในหัวข้อ “Noburo (Social Start-up) Financial well-being for your employees”
.
โดยเป็นการพูดถึงตัวบริษัท Noburo ซึ่งเริ่มตั้งแต่แรงบัลดาลใจในการก่อตั้งบริษัท และหลักในการก่อตั้ง ที่มีฐานมาจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาระยะยาวด้วยองค์ความรู้, เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมไปถึงความคิดที่ว่าการทำจิตอาสาไม่ใช่การแก้ไขในระยะยาว และไม่มีความยั่งยืน ในส่วนของกลุ่มเป้าหมายของ Noburo นั้นก็คือกลุ่มแรงงานที่มีรายได้ต่ำ และมีภาระหนี้ – ประวัติการเงินเสีย
.
คุณธิษณา ได้อธิบายการทำงานของ Noburo ไว้ว่าทางบริษัทจะเข้าไปช่วยจัดการ และบริหารในส่วนของการเงินของผู้ที่ความต้องการ ผ่านการดำเนินการ 2 ส่วนด้วยกันได้แก่ การจัดการกับหนี้นอกระบบ และการบริหารจัดการทางการเงินเพื่อชำระหนี้อื่น ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทาง Noburo มองว่าปัญหาส่วนใหญ่มาจากความคิดของเราที่ต้องเริ่มแก้ด้วยการแก้ไขความคิด แล้วจึงตามมาด้วยการวางแผนทางการเงินเพื่อชำระหนี้ต่าง ๆ ที่มี จนมาถึงการลงมือในที่สุด
เพื่อเป็นการส่งท้ายการมาเยือนของ HBMS ทาง MBA Chula ได้นำคณะผู้มาเยือนจากฮิโรชิมะ ไปเยี่ยมชมหนึ่งในบรรดาหน้าร้านของ Thann บริษัททางด้านธุรกิจอโรมาเธอราพี, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวธรรมชาติชื่อดัง โดยได้รับเกียรติจาก คุณฐิติพัฒน์ ศุภภัทรานนท์ – Founder of Thann & MD of Thann-Oryza Co., Ltd. มาให้การต้อนรับ ณ Thann Sanctuary Sukhumvit 47
พร้อมกันนี้ คุณฐิติพัฒน์ ยังได้ทำการบรรยายถึงแนวทางที่ใช้ในการบริหารงาน Thann ให้ประสบความสำเร็จมาจนถึงปัจจุบัน
โดยพอหลังจากจบการบรรยายแล้วนั้น ผู้เข้าร่วมชมทุกท่านยังได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ Thann ได้เตรียมไว้ให้อีกด้วย

MBA Young Executive รุ่น 29/2 ในเดือนพฤศจิกายน 2566 เราได้นำนิสิตมาดูงาน ณ ไต้หวัน

ในการเสริมสร้าง Global Business Mindset ให้กับนิสิต MBA CHULA ทางหลักสูตรฯ ได้จัดการศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศ ในวิชา Global Business Experience ของหลักสูตร MBA Young Executive รุ่น 29/2 ในเดือนพฤศจิกายน 2566 เราได้นำนิสิตมาดูงานที่ประเทศไต้หวัน
ในวันแรก นิสิตได้เข้าเยี่ยมชม Cycling Culture Museum ที่จัดตั้งและบริหารโดย Giant Bicycle บริษัทไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตจักรยานระดับโลก เราได้เรียนรู้ความเป็นมาของอุตสาหกรรมจักรยานในประเทศไต้หวัน รวมถึงกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาด กลยุทธ์การเติบโตในตลาดโลก และแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ผู้ประกอบจากประเทศไต้หวันแห่งนี้ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่มีบทบาทอย่างสูงในอุตสาหกรรมจักรยานของโลก
การดูงานในวันที่ 2 ของหลักสูตร MBA Young Executive 29/2 ในเดือนพฤศจิกายน 2566 เราได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของ GlobalWafers บริษัทอันดับ 3 ของโลกที่ผลิต Silicon Wafer Material ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำในการผลิต Semiconductor โดยมีลูกค้าหลัก อาทิ TSMC ที่เป็น Supplier หลักของชิปโทรศัพท์มือถือทั่วโลก
ในการดูงานครั้งนี้ นิสิตได้เข้าชมกระบวนการผลิต และรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับกลยุทธ์การเติบโตที่ผ่านมา รวมถึงการวิเคราะห์ทิศทางของอุตสาหกรรมปลายน้ำทั่วโลก เพื่อวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับการแข่งขันในตลาดโลก
การศึกษาดูงานในวันที่ 3 ของหลักสูตร MBA Young Executive 29/2 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการดูงาน คณะเดินทางได้เข้าฟังการฟังการบรรยายจาก College of Technology Management, National Tsing Hua University โดยหัวข้อแรกเป็นการบรรยายโดย Prof. Yuan-Chieh Chang ที่อธิบายถึงแนวคิด Innovation 5.0 ที่เป็นแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมแบบ Open Innovation ที่มีการ Spin in องค์ความรู้ใหม่ ๆ จากภายนอกองค์กร และการ Spin off องค์ความรู้เพื่อค้นหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
ส่วนในหัวข้อที่ 2 จะบรรยายโดย Assoc. Prof. Ying-Che Hsieh ที่อธิบายแนวคิดการทำ CSR ที่สนับสนุนการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ (Business Sustainability) และหัวข้อสุดท้าย คือ การบรรยายโดย Prof. Pei-Fang Hsu ที่บรรยายถึงการใช้งานระบบ MIS ในการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยการบรรยายจะเน้นไปที่การวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ CRM (Customer Relationship Management)

 

นิสิต Executive MBA รุ่น 38 เรียนรู้ในและนอกห้องเรียนผ่านวิชา Global Immersive Experience ณเมือง Bordeaux ประเทศฝรั่งเศส

ในการเสริมสร้าง Global Business Mindset ให้กับนิสิต MBA ทางหลักสูตรฯ ได้นำนิสิต Executive MBA รุ่น 38 มาเยือนเมือง Bordeaux ประเทศฝรั่งเศสเพื่อให้นิสิตเรียนรู้ในและนอกห้องเรียนผ่าน Global Immersive Experience ในธีม Wine Management ซึ่งไวน์ถือเป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อของเมือง Bordeaux
ในวันแรก นิสิตได้รับฟังการบรรยายจาก Prof. Herve อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจไวน์ จาก Kedge Business School ทำให้ทราบถึงการแข่งขันในตลาดปัจจุบันของไวน์จากเมือง Bordeaux รวมไปถึงการลงทุนในไวน์ซึ่งมีตลาดฟิวเจอร์สไวน์หรือที่เรียกว่า En Primeur ในการลงทุนในไวน์อีกด้วย
จุดเด่นของไวน์จากเมือง Bordeaux มีไวน์ประเภท AOC (Appellation d’Origine Contrôlée) จำนวนมาก AOC เป็นการรับรองว่าในกระบวนการผลิตไวน์ทุกขั้นตอน ไปจนถึงสถานที่ผลิตและวัตถุดิบต่าง ๆ จะมาจากพื้นที่นี้เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นดิน หิน น้ำในการปลูกองุ่น ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไวน์ ไปจนถึงพันธุ์องุ่นที่สามารถใช้ได้ AOC สร้างจุดเด่นให้สินค้าพื้นเมืองคงเอกลักษณ์ของเมืองได้เป็นอย่างดี
หลักสูตรฯ ได้นำนิสิตเยี่ยมชมกระบวนการผลิตไวน์และพูดคุยสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ที่ Château d’Agassac ในพื้นที่ Ludon-Médoc และ Château Marquis de Terme ในพื้นที่ Margaux

ในวันที่ 2 การตลาดธุรกิจไวน์
ทางหลักสูตรฯได้พานิสิตเข้ารับฟังการบรรยายจาก Prof. Herve เรื่องการทำการตลาดธุรกิจไวน์ มี 2 ปัจจัยที่สำคัญในการแข่งขัน
ปัจจัยแรกคือ Easy to Buy เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้อย่างง่าย โดยอาจใช้รูปแบบ En Primeur เป็นการซื้อไวน์ล่วงหน้า โดยมีโบรกเกอร์ช่วยเจรจาในการซื้อขายระหว่างผู้ผลิตและพ่อค้า ก่อนที่พ่อค้าจะนำสินค้ากระจายไปยังช่องทางต่างๆ จนถึงมือผู้บริโภคในท้ายที่สุด
ปัจจัยที่สอง คือ Easy to Mind ทำให้ผู้บริโภคนึกถึงและจดจำสินค้าของผู้ผลิตเมื่อเลือกซื้อไวน์ การสร้างแบรนด์จึงสำคัญอย่างยิ่ง
ช่วงบ่าย Prof. Herve ได้พานิสิตเข้าเยี่ยมชม Wine Testing Lab และให้นิสิตได้เรียนรู้วิธีการชิมไวน์ เพื่อให้เข้าใจลักษณะและเสน่ห์ของไวน์มากขึ้น ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ Watching (สี) Smelling (กลิ่น) และ Tasting (รสสัมผัส)
เมื่อชิมเปรียบเทียบไวน์จากบริเวณเดียวกันแต่ละคนละไร่ หรือไร่เดียวกันแต่คนละปี (Vintage) ก็จะทำให้เห็นความแตกต่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
 
วันที่ 3
‘Cité du Vin’ เป็นพิพิธภัณฑ์ไวน์ที่ดีที่สุดในโลก สะท้อนประวัติศาสตร์และความเป็นมาของการผลิตไวน์ที่มีมานานตั้งแต่สมัยอียิปต์ จนแพร่หลายไปทั่วโลก ที่กลมกลืนไปกับวัฒนธรรมประเทศต่างๆ เช่น กรีซ ญี่ปุ่น
เนื้อหาครอบคลุมหลากหลายมิติตั้งแต่ องค์ประกอบต่างๆ ในการผลิตไวน์ เช่น บรรจุภัณฑ์นวัตกรรมในการผลิตไวน์ และ Wine Architecture ไปจนถึงศาสตร์และศิลป์ของการดื่มไวน์ การนำเสนอในรูปแบบ Interactive สร้างความประทับใจ และช่วยเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับไวน์ของทั้ง Bordeaux และทั่วโลก
ในช่วงบ่าย นิสิตได้เยี่ยมชมตัวเมือง Bordeaux เพื่อชมวิถีชีวิตของชาวเมือง ซึ่งไวน์ได้กลมกลืนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของผู้คนในเมืองนี้ สำหรับเมือง Bordeaux เป็นเมืองท่าที่สำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศฝรั่งเศส
วันที่ 4
หลักสูตรฯ พานิสิตเรียนรู้มุมมองด้านการบริหารในยุค Industry 4.0 ของประเทศฝรั่งเศสจาก Mr. Marc Bagur ผู้เชี่ยวชาญด้าน Human-Machine Performance จาก Airudit
Industry 4.0 ให้ความสำคัญแก่ดิจิทัลเทคโนโลยี เช่น Internet of Things (IoT) และ Artificial Intelligence (AI) ที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือระบบต่างๆ สามารถทำงานร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิต
ปัจจุบันหลายประเทศทั้งในยุโรป เอเชีย และอเมริกา ได้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีในการทำงานร่วมกับมนุษย์และการสร้างคุณค่าให้แก่มนุษย์และสังคม หรือที่รู้จักในชื่อ Industry 5.0 โดยมีหัวใจสำคัญ 3 ประการ คือ Sustainability, Human Centric และ Resilience
นอกจากนี้ทางหลักสูตรฯ ได้เสริมสร้างมุมมองด้าน Industry 4.0 โดยนำนิสิตเข้าเยี่ยมชมโรงงาน EMS และฟังบรรยายโดย Mr. Raphaël Mouneyres
EMS เป็น Smart Factory ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีในการผลิตอิเล็กทรอนิกส์บอร์ด ซึ่งเป็นสินค้าที่มีองค์ประกอบที่มีความซับซ้อน และต้อง customized โดยมีจุดเด่นคือสามารถผลิตได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับผู้ประกอบการสมัยใหม่ที่ต้องการความคล่องตัวสูง เชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าตามหลักการ Industry 4.0

นิสิตหลักสูตร Young Executive 29/1 และ English Program 17 เดินทางไปศึกษาและดูงานธุรกิจที่ประเทศสิงคโปร์

เพื่อพัฒนาทักษะ Global Mindset สร้างการเรียนรู้และเข้าใจถึงธุรกิจและวัฒนธรรมนานาชาติให้แก่นิสิต อันเป็นส่วนหนึ่งของวิชา Global Business Experience หลักสูตร MBA Chula ได้พานิสิตในหลักสูตร Young Executive 29/1 และ English Program 17 เดินทางไปศึกษาและดูงานธุรกิจที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีประสบการณ์สรุปดังนี้

หัวข้อ: การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์
Prof. ANG Ser Keng และ Prof. Tan Kim Song จาก Singapore Management University (SMU) ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ Singapore Economy: Maintaining Competitive Edge และเล่าถึงเหตุการณ์และนโยบายสำคัญต่างๆในช่วงที่ผ่านมา เป็นการเปิดมุมมองและวิสัยทัศน์ของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศสิงคโปร์มีความเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดจนถึงทุกวันนี้ ทั้งสองท่านเล่า ว่าสิงคโปร์เองก็มีความท้าทายที่แตกต่างจากประเทศอื่นในอาเซียนเช่นกัน ทำอย่างไรจึงทำให้สิงคโปร์ยังสามารถดำรงความเป็นผู้นำและอยู่ร่วมกับประเทศอื่นๆในอาเซียนได้อย่างยั่งยืน

หัวข้อ: การเรียนรู้จากธุรกิจ startup
หลักสูตรฯได้เข้าเยี่ยมชมและฟังการบรรยายจากผู้บริหารบริษัท Mighty Jaxx ซึ่งเป็นบริษัท startup ที่ออกแบบและขายสินค้าสะสมที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร (designer toys) โดยใช้คอนเซ็ปต์ Phygital บริษัท Mighty Jaxx อาจไม่คุ้นหูคนไทยมากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว บริษัทฯ ทำงานร่วมกับแบรนด์ระดับโลกอย่าง Netflix, Cartoon Network, Warner Brothers และได้รับรางวัลความสำเร็จมากมาย โดยหัวใจของความสำเร็จคือการสร้างความแตกต่างและเอกลักษณ์ของสินค้าที่ทำให้ลูกค้าจะต้องเสาะหาสินค้าสะสมของ Mighty Jaxx มาเป็นเจ้าของ

หัวข้อ: การบริหารอสังหาริมทรัพย์ในประเทศสิงคโปร์
หลักสูตรฯได้เรียนรู้จากบริษัท Frasers Centerpoint Trust บริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของสิงคโปร์ โดยได้รับเกียรติจากคุณ Richard Ng CEO ของบริษัท บรรยายเกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกลยุทธ์การสร้างความเจริญเติบโตของธุรกิจที่ไม่จำกัดเพียงสิงคโปร์เท่านั้นแต่ขยายไปยังเมืองต่างๆ ทั่วโลก
หลังจากที่รับฟังบรรยายแล้ว ได้เดินทางไปดูงานที่ North Point Shopping Center บริหารงานโดย Frasers Centerpoint Trust ตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือของเกาะ และเป็นศูนย์กลางชุมชนของย่านนี้ ภายในของ North Point Shopping Center นอกจากมีห้างร้านต่างๆ แล้ว ยังมีการจัดบริเวณที่เป็นห้องสมุดสาธารณะของเมือง รวมทั้งสวนสนุกสำหรับเด็กให้บริการฟรีอีกด้วย โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาศูนย์กลางการเดินทางให้กับชุมชนด้วย

หัวข้อ: การบริหารธุรกิจแพลตฟอร์ม
หลักสูตรฯได้เข้าเยี่ยมสำนักงานใหญ่ของ บริษัท Grab Singapore โดยได้รับเกียรติจากคุณ Russell Cohen (Group Managing Director) คุณ Pete Nuchanatanon และทีมผู้บริหาร บรรยายถึงกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของ Grab ซึ่งการที่เป็นธุรกิจประเภทแพลตฟอร์มจึงทำให้มีความแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ
ทีมบริหารได้เล่าถึงความท้าทายในการบริหารแพลตฟอร์ม ซึ่งประกอบด้วยผู้ใช้งาน ผู้ขับรถ และร้านค้า ทำให้ต้องออกแบบอัลกอรึทึ่มที่คำนึงถึงพฤติกรรมที่ต่างกัน อย่างเช่นกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นคนในพื้นที่ มีความต้องการแตกต่างจากนักท่องเที่ยว ทำให้การออกแบบแอพพลิเคชันต้องพิจารณาถึงเรื่องนี้ด้วย
 

Congratulations to GBT Student 2023

โครงการ Global Business Track (GBT) ประจำปี 2023 ได้สำเร็จลุล่วงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย Farewell Ceremony จัดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยนิสิตจากหลักสูตร MBA จุฬาฯ และนักศึกษาจากหลักสูตร Master of Global Business (MGB), University of Victoria ประเทศแคนาดา และ University of Glasgow ประเทศสกอตแลนด์ ที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้รับ Certificate of Completion จากทั้ง 3 มหาวิทยาลัย
โครงการ Global Business Track (GBT) เป็นโครงการที่หลักสูตร MBA Chulalongkorn Business School, Chulalongkorn University, Thailand ร่วมมือกับ Peter B. Gustavson School of Business, University of Victoria, Canada และ Adam Smith Business School, University of Glasgow, Scotland เพื่อให้นิสิตได้เสริมสร้างประสบการณ์ ความรู้ความสามารถทางด้านธุรกิจระดับโลก และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั่วโลก (เรียนที่ประเทศแคนาดาเป็นเวลา 3 เดือน ที่ประเทศสกอตแลนด์ 3 เดือน และที่ประเทศไทย 2 เดือนครึ่ง)
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถดูรายละเอียดของโครงการฯได้ที่
https://mba.cbs.chula.ac.th/?page_id=310

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ The Top-ranked Business School with Triple Crown Accreditation ได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จาก 3 สถาบันระดับโลกและจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ของไทย

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯสร้างชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ในด้านชื่อเสียงทางวิชาการ วิจัยและคุณภาพการศึกษาให้เทียบชั้นในระดับนานาชาติ นอกจากคณะจะได้รับการจัดอันดับจาก QS World University Rankings by Subject 2023 ให้ครองอันดับ 1 ของประเทศไทยในสองสาขาวิชาเฉพาะ ได้แก่ สาขา Accounting & Finance และ Business & Management แล้ว ล่าสุดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ได้สร้างความภาคภูมิใจให้สถาบันอุดมศึกษาไทยโดยได้รับการรับรอง (Accreditation) ยืนยันคุณภาพการศึกษาระดับโลกทางด้านบริหารธุรกิจจาก 3 สถาบันรับรองคุณภาพการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ (Triple Crown  Accreditation) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่มีการเรียนการสอนทางด้านบริหารธุรกิจที่ได้รับการรับรองคุณภาพ และเป็นอันดับหนึ่งควบคู่กัน

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เปิดเผยว่า สามสถาบันชั้นนำที่ให้การรับรองคุณภาพการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจแก่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ประกอบด้วย Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), Association of MBAs (AMBA) และ The EFMD Quality Improvement System (EQUIS) ซึ่งทั่วโลกมีสถาบันอุดมศึกษาที่สอนทางด้านบริหารธุรกิจไม่ถึง 100 สถาบันจากมากกว่า 20,000 สถาบันที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากสามสถาบัน หรือที่เรียกกันว่า Triple Crown ทำให้คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เป็น Topทางด้าน Business School จาก 3 สถาบันที่รับรองคุณภาพการศึกษาระดับโลกทางด้านบริหารธุรกิจ  และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยจาก QS World University Rankings by Subject 2023

สำหรับ The Association of MBAs (AMBA) เป็นองค์กรอิสระที่เป็นสากลในด้านการศึกษาธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษาซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ. ศ. 2510 โดยกลุ่มนักธุรกิจที่จบการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับการศึกษาทางธุรกิจและหลักสูตร MBA ในสหราชอาณาจักรและยุโรป*

*ที่มา  จาก https://www.masterdegreethai.com/institutions/amba

Global Experience with MBA Program

เพื่อเสริมสร้าง Global Mindset ให้แก่นิสิต วิชา Global Business Experience ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาหลักของหลักสูตรฯ MBA CHULA มีเนื้อหาเพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมธุรกิจโลก, การคิดข้ามวัฒนธรรม ประสบการณ์ธุรกิจระหว่างประเทศ และการทำธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ ในเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมานี้  หลักสูตร MBA ได้แบ่งนิสิตไปศึกษาดูงานใน 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงโตเกียว เมืองฮิโรชิม่า เมืองนาโกยา และกรุงโซล 

สำหรับในเส้นทางกรุงโตเกียวนั้น ทางหลักสูตรได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรของเรา คือ มหาวิทยาลัยฮิโตสึบาชิ และบริษัท Hashimoto Sogyo เป็นการศึกษาดูงานที่ตื่นเต้นและได้เปิดมุมมองทางความคิดที่หลากหลายเกี่ยวกับวัฒนธรรมการทำงานของธุรกิจ และภาพอนาคตของธุรกิจญี่ปุ่น

 

ในเส้นทางเมืองฮิโรชิมา ด้วยความร่วมมือกับ Hiroshima Business and Management School (HBMS) ทางหลักสูตร MBA Chula นำนิสิตมาเรียนรู้และดูงาน ณ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น โดย Theme ของการดูงานในทริปนี้คือ Monozukuri หรือ ศิลปะการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์

สำหรับเส้นทางเมืองนาโกย่า โดยในเส้นทางนี้ นิสิตได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Family Business Strategy จาก NUCB Business School โดยเน้นในเรื่องการศึกษาในทิศทางของการทำธุรกิจแบบ Family Business ของญี่ปุ่นเริ่มตั้งแต่การปูพื้นฐานให้เข้าใจถึงภาพรวมและความสำคัญของธุรกิจครอบครัวในประเทศญี่ปุ่น จนถึงการเยี่ยมชมธุรกิจ Family Business ณ สถานที่จริง

เส้นทางสุดท้าย ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ด้วยการร่วมมือกับ Korea Advanced Institute of Science & Technology (KAIST) ทางหลักสูตร MBA Chula นำนิสิตมาเรียนรู้และดูงาน ณ กรุงโซล และเมืองแทจอน ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี โดย Theme ของการดูงานในทริปนี้คือ Korean Innovation Management หรือ การจัดการนวัตกรรมของสาธารณรัฐเกาหลี 

และนี่คือหนึ่งในความโดดเด่นอย่างหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตร MBA CHULA ที่มีความตั้งใจให้นิสิตของหลักสูตรฯได้เรียนรู้เรื่องราวในโลกของธุรกิจระหว่างประเทศโดยกำหนดเป็นเนื้อหาการเรียนการสอน และให้นิสิตได้มีโอกาสเข้าคอร์สเรียนจริงๆในสถาบันการศึกษาในต่างประเทศเป็นระยะเวลาสั้นๆ ที่ไม่ใช่เป็นแค่การไปเยี่ยมชมดูงานแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

นิสิตหลักสูตรMBA เข้ารับฟังการบรรยายและทำกิจกรรมWorkshop ณ สถานศึกษาในต่างประเทศ

นิสิตหลักสูตรMBA เข้ารับฟังการบรรยายและทำกิจกรรมWorkshop ณ สถานศึกษาในต่างประเทศ

นิสิตหลักสูตร MBA Young Executive รุ่นที่ 24/1 และ English Program รุ่นที่ 12 ได้เดินทางไปศึกษา ในโปรแกรม Study Trip ณ มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ได้แก่

– มหาวิทยาลัย University of Hiroshima, Japan ระหว่าง วันที่ 24-29 มีนาคม 2562

– Globis University, Tokyo ระหว่างวันที่ 25-29 มีนาคม 2562

– Ritsumeikan Asia Pacific University (APU),Oita,Japan ระหว่างวันที่ 25-30 มีนาคม 2562

-มหาวิทยาลัยHong Kong Polytechnic University,เขตปกครองพิเศษHongKongระหว่างวันที่28-31มีนาคม 2562

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save